1. สมบัติของเหลว 1.3 ความดันไอ (vapor pressure) พิจารณารูปต่อไปนี้ สมมติว่า ในภาชนะ ซึ่งเป็นหลอดแก้วปิด บรรจุของเหลวชนิดหนึ่ง
โดยทั่วไป เมื่อของเหลวหนึ่งๆ บรรจุอยู่ใน ภาชนะเปิด เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่ง จะเห็นว่า ในที่สุดของเหลวนี้จะระเหยไปหมด ไม่มีของเหลวเหลืออยู่ แต่ถ้านำของเหลวไปบรรจุใน ภาชนะปิด โดยวางภาชนะนี้ไว้ในที่สภาวะเดียวกัน มีอุณหภูมิ และความดันเดียวกัน เมื่อทิ้งไว้ในระยะเวลาหนึ่งจะพบว่า มีไอซึ่งเกิดจากการระเหยปรากฏอยู่เหนือของเหลวนี้ ไอของโมเลกุลของเหลวที่อยู่เหนือของเหลวนี้จะวิ่งชนกับผนังของภาชนะ จึงทำให้เกิดความดัน เราเรียกว่า ความดันไอ (vapor pressure)
ในรูป a โมเลกุลจะเริ่มระเหยกลายเป็นไอ และในรูป b การระเหยจะมากขึ้น และในรูป c โมเลกุลของของเหลวระเหยมาก แต่ก็มีโมเลกุลของเหลวบางส่วนที่สามารถควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวได้ ถ้าอัตราการระเหยเท่ากับอัตราการควบแน่น จะเรียกว่า ของเหลวอยู่ในภาวะสมดุลกับไอ ลองพิจารณารูปต่อไปนี้
|