จุดประสงค์
บอกลักษณะสำคัญของการเก็บและการแทนข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถใช้ในการทำงานได้
อธิบายการแทนข้อมูลด้วยบิตและไบต์ของคอมพิวเตอร์ได้
บอกความแตกต่างระหว่างสัญญาณแอนนาลอกและดิจิทัลได้
อธิบายการแทนตัวอักขระด้วยรหัสแอสกีและแอบซีดิกได้
รู้จักหน่วยต่างๆ ของบิตและไบต์

คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์หรือไม่ แล้วภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันเป็นอย่างไร

ในที่นี้จะขอกล่าวถึง การแทนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ เนื่องจากข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามานั้น เป็นข้อมูลที่คนเราเข้าใจ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า บิต อะไรคือบิตและ บิตหลายๆบิตต่อกันจะแทนข้อมูลได้อย่างไร

ในการทำความเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรนั้นเราควระมาทำความรู้จักกันก่อนว่าคอมพิวเตอร์แทนข้อมูลต่างๆ อย่างไร คนเราสามารถพูดคุย ติดต่อสื่อสารกัน ผ่านทางคำพูด เสียง เป็นคำ เป็นประโยค เสียงของคนเราเรียกว่าเป็นสัญญาณแบบ แอนนาลอก (analog) ซึ่งมีลักษณะเป็นคลื่นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ หรือ คลื่นเสียงนั่นเอง สัญญาณทีเกิดขึ้นจะชัดเจนละเอียด ส่วนคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้สัญญาณดิจิทัล (digital) (รูปที่ 1 แสดงลักษณะของสัญญาณแอนนาล็อก และสัญญาณดิจิทัล) ซึ่งจะค่าที่ไม่ต่อเนื่องกันหรือ เป็นช่วงๆ มี 2 ค่า สำหรับคอมพิวเตอร์ดิจิทัล หน่วยย่อยที่เล๋กที่สุดคือ บิต มีค่า 0 กับ 1 ซึ่งใช้แทนสถานะการไหลของกระแสไฟฟ้านั่นเอง (รูปที่ 2 แสดงสถานะทางไฟฟ้าของข้อมูล 0 กับ 1) ในที่นี้จะขอกล่าวถึง ข้อมูลที่เป็นสัญญาณดิจิทัล หรือ บิต


รูปที่ 1แสดงลักษณะของสัญญาณแอนนาล็อกและสัญญาณดิจิทัล

รูปที่ 2 แสดงสถานะทางไฟฟ้าของข้อมูล 0 กับ 1

bit บิต ย่อมาจาก Binary Digit หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์ มีค่าข้อมูลเป็นตัวเลขระบบฐานสอง คือ 0 และ 1 บิต มักใช้เป็นหน่วยวัดความสามารถของไมโครโพรเซสเซอร์ในการประมวลผลข้อมูล เช่น 16 บิต หรือ 32 บิต เป็นต้น 4 บิต เท่ากับ 1 นิบเบิล (nibble) และ 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์

การที่จะเข้าใจบิตได้ดีเราควรทำความรู้จักกับไบต์เสียก่อน 1 ไบต์เป็นกลมของ 8 บิตและจะใช้แทนตัวอักขระหรือตัวเลข ด้วยเลข 0 ถึง 9 ตัวอย่างเช่น ไบต์ 01000001 คืออักขระ A เลข 0 หรือ 1 ในไบต์ก็คือ 1 บิต ซึ่งแสดงถึงสถานะ 1 ใน 2 สถานะ คือ 0 = ปิด และ 1 = เปิด การรวมของตัวเลข 0 และ 1 ในลักษณะต่างๆ ให้เป็นชุด 8 ตัวจะแทนข้อมูลทั้งหมดใน คอมพิวเตอร์ ส่วนมากแล้วเรามักจะไม่กล่าวถึงบิตและนิบเบิลมากนัก แต่เรามักจะกล่าวถึงไบต์ เช่น กิโลไบต์ เมกะไบต์ หรือจิกะไบต์ เป็นส่วนมากทั้งสิ้น

การนำบิตมาต่อกันเป็นไบต์ สามารถใช้แทนตัวอักษรได้หนึ่งตัว ซึ่งการแทนเป็นตัวอักษรตัวไหนนั้นได้ถูกกำหนดไว้แล้วนั่นคือ ASCII (American Standard Code for Information Interchange) อ่านว่า แอสกี (ASK-ee)และ EBCDIC (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code) อ่านว่า แอบ-ซี-ดิก (EB-see-dik) รหัสต่างๆ

ตัวอย่างการแทนข้อมูล "3" รหัสแอสกี คือ "00110011"

อย่างไรก็ตามรหัสที่มีอยู่ ไม่สามารถแทนตัวอักษรของประเทศอื่นได้ เพื่อให้ทั่วโลกมีมาตรเดียวกัน ได้มีมตรฐานการแทนข้อมูลแบบใหม่ ใช้ทั้งหมด 16 บิต คือ unicode ซึ่งสามารถใช้แทนตัวอักษรและสัญลักษณ์ต่างๆ ได้ รวมถึง 65,000 ตัว ซึ่งสามารถแทนตัวอักษรและสัญลักษณ์ต่างๆ ได้ทั่วโลก รวมทั้งตัวอักษรโบราณด้วย โปรแกรมที่มีการใช้ unicode ได้แก่ Linux, windowsXP, Mac OS X, Java, XML, Microsoft Office 2003, Oracle เป็นต้น

หน่วยต่างๆ ที่น่าสนใจ

คำนำหน้า สัญลักษณ์ เลขยกกำลังของ 10 เลขยกกำลังของ 2
kilo- (กิโล-) K 103 210
mega- (เมกะ-) M 106 220
giga- (กิกะ-) G 109 230
tera- (เทรา-) T 1012 240

 
 
     Links อื่น ๆ
 



























 





 
       
 
 
 
   

Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process.  All rights reserved.