ทัชแผด (touchpad)

อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นแผ่นเรียบ ขนาด 3 x 3 นิ้ว มีวงจรรับสัญญาณภายใน วางไว้บริเวณหน้าคีย์บอร์ด (ที่พักมือ) พบในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก เมื่อต้องการสั่งงานก็นำปลายนิ้วเลื่อนไปบนแผ่นเรียบ ในทิศทางที่ต้องการ สามารถคลิกเบาๆ บนแผ่นเรียบเพื่อสั่งการได้เลย หรือใช้ปุ่มกดข้างๆ แผ่นก็ได้ 

ส่วนบนสุดของ touchpad จะเป็นชั้นยางถัดลงมาจะมีอีกสองชั้น แต่ละชั้นจะมีแถวของอิเล็กโทรดชั้นหนึ่งเป็นแถวแนวนอนชั้นถัดมาเป็นแถวแนวตั้ง แถวอิเล็กโทรดทั้งสองชั้นจะไม่ได้สัมผัสกัน ชั้นหนึ่งมีประจุบวก อีกชั้นหนึ่งมีประจุลบ ทำให้เกิดสนามแม่หล็กไฟฟ้าระหว่างชั้น และจะมีวงจรไฟฟ้าที่คอยตรวจสอบค่าความต่างศ้กย์ไฟฟ้าหรือค่าความเก็บประจุ

        
ซึ่งเมื่อคุณสัมผัส ที่นิ้วของคุณจะมีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ แม้ว่านิ้วคุณจะไม่สัมผัสกับ แพด สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะทำให้การเปลี่ยนแปลงกับแถวอิเล็กโทรด โดยค่าความเก็บประจุของอิเล็กโทรดที่ตัดกันใกล้ๆ กับนิ้วจะเปลี่ยนไป ค่าความเก็บประจุไฟฟ้านี้จะได้รับผลมากที่สุดบริเวณตรงกลางของนิ่วที่สัมผัส ด้วยการตรวจสอบค่าความเก็บประจุที่เปลี่ยนแปลงนี้ ทัชแพดสามารถรู้ได้ว่าจุดกึ่งกลางของหน้าสัมผัสอยู่ตำแหน่งใด  จากนั้นจะส่งข้อมูลนี้ไปยังระบบปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของลูกศรบนหน้าจอ ค่าความเก็บประจุจะมีการวัดด้วยความถี่ 100 ครั้งต่อวินาที การเปลี่ยนค่าดังกล่าวจากการเคลื่อนที่ของนิ้วสามารถแปลงข้อมูลออกมาใช้สำหรับการเคลื่อนที่ของลูกศรบนหน้าจอได้

ในคีย์บอร์ดบางรุ่นได้เพิ่มแผ่นสัมผัสลงไปด้วยเพื่อเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้มากขึ้น

 
 
     Links อื่น ๆ
 



























 





 
       
 
 
 
   

Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process.  All rights reserved.