จอสัมผัส (touchscreen)

จอสัมผัส (touchscreen) เป็นรูปแบบหนึ่งของอุปกรณ์แสดงผลและนำเข้าข้อมูลที่ผสมร่วมกัน เพื่อลดขนาดพื้นที่การใช้งาน โดยโปรแกรมจะแสดงผลภาพกราฟิกบนจอภาพ และผู้ใช้สามารถใช้นิ้วมือสัมผัสบนจอภาพ เพื่อเลือกรายการต่างๆ ทั้งที่อยู่ในลักษณะของรูปภาพ หรือข้อความก็ได้ เพื่อสั่งงาน จอสัมผัสนิยมนำมาใช้ในลักษณะของงานที่ช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาการใช้อุปกรณ์นำเข้าแบบจับต้อง เช่น แป้นพิมพ์, เมาส์ เป็นต้น

จอสัมผัสรู้ได้อย่างไรว่า เรากดตำแหน่งใดบนหน้าจอ

หน้าจอสัมผัสจะสามารถรู้ตำแหน่งที่เราสัมผัสได้นั้นจะต้องอาศัยระบบพื้นฐานซึ่งมี 3 ประเภท คือ
ตัวต้านทาน (resistive)
ระบบตัวต้านทานประกอบด้วย ช่องกระจกเคลือบด้วยตัวนำและตัวต้านทานโดยทั้งสองชั้นนี้ไม่ได้อยู่ติดกัน โดยมีตัวกั้นและชั้นตัวต้านทานที่ปรับค่าได้อยู่บนสุด ในขณะที่หน้าจอกำลังทำงานจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านทั้งสองชั้น เมื่อผู้ใช้สัมผัสหน้าจอ ทำให้ชั้นทั้งสองชั้นสัมผัสกันตรงตำแหน่งที่เราสัมผัส เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน และถูกบันทึกไว้และคำนวณหาตำแหน่งโดยทันที เมื่อรู้ว่าสัมผัสตรงส่วนใดแล้ว จะมีไดรเวอร์พิเศษที่ทำหน้าที่แปลการสัมผัสไปเป็นสัญญาณหรือรหัสส่งไปให้ระบบปฏิบัติการ
ตัวเก็บประจุ (capacitive)
ระบบตัวเก็บประจุ จะเป็นชั้นที่ไว้สำหรับเก็บประจุไฟฟ้าซึ่งจะวางอยู่บนช่องกระจกของหน้าจอ เมื่อผู้ใช้สัมผัสหน้าจอ ประจุไฟฟ้าบางส่วนจะถูกส่งไปยังตัวผู้ใช้ทำให้ประจุไฟฟ้าที่มีอยู่ในตัวเก็บประจุลดลง การลดลงนี้จะเป็นตัวบอกตำแหน่งของการสัมผัสซึ่งจะมีวงจรที่คอยตรวจสอบอยู่ที่มุมของหน้าจอทั้งสี่มุม ต่อจากนั้นคอมพิวเตอร์จะคำนวณ จากผลต่างของประจุไฟฟ้าในแต่ละมุม จนได้ตำแหน่งตรงที่ผู้ใช้สัมผัสแล้วจึงส่งไปให้ไดรเวอร์

คลื่นเสียงที่ผิวของหน้าจอ (surface acoustic wave)
ระบบคลื่นเสียง บนหน้าจอของระบบคลื่นเสียงที่ผิวหน้าจอจะมีตัวรับ และส่งสัญญาณอยู่ตลอดแนวตั้งและแนวนอน ของแผ่นกระจกของหน้าจอ และตัวตัวสะท้อน ซึ่งจะทำหน้าที่ ส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่มาจากตัวส่งสัญญาณไปยังตัวอื่น ตัวรับสัญญาณจะเป็นตัวบอกถ้าคลื่นถูกรบกวนโดยการสัมผัสของผู้ใช้ และจะสามารถระบตำแหน่งที่สัมผัสได้ การใช้ระบบคลื่นทำให้หน้าจอสามารถแสดงภาพได้อย่างชัดเจนมากกว่าทั้งสองระบบข้างต้น

ในระบบอื่นๆ สิ่งที่จะแตกต่างกันไปก็คือตัวที่คอยตรวจสอบการสัมผัสของผู้ใช้ ถ้าเป็นระบบตัวต้านทานที่มีชั้นสองชั้นและระบุตำแหน่งจากการกระทบกันของชั้นนั้น ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วหรือ อะไรก็ได้กดก็ได้ ในระบบตัวเก็บประจุ จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ โดยทั่วไปก็ใช้นิ้วของผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการไหลของประจุไฟเพื่อใช้ในการระบุตำแหน่ง ส่วนในระบบคลื่นเสียงที่ผิวหน้าจอจะทำงานคล้ายกับในระบบตัวต้านทานการสัมผัสผู้ใช้สามารถใช้อะไรสัมผัสก็ได้ ยกเว้นปลายปากกาหรือวัสดุที่เล็กและแข็ง

ในเรื่องราคา ระบบตัวต้านทานจะถูกที่สุดแต่ภาพที่แสดงบนหน้าจอจะไม่ชัดเจนเนื่องจากตัวต้านทานจะกระแสงเพียง 75% เท่านั้น (ส่วนระบบตัวเก็บประจุจะสามารถกระจายแสงได้ 90%) และใช้วัสดุแหลมไม่ได้จะทำให้ระบบเสีย หน้าจอของระบบคลื่นเสียงที่ผิวหน้าจอจะมีราคาสูงสุด

 
 
     Links อื่น ๆ
 



























 





 
       
 
 
 
   

Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process.  All rights reserved.