เบาหวานเป็นโรคเกี่ยวกับเมแทบอลิซึมที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดสูงเป็นเวลานาน
ซึ่งเป็นจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินหรือความผิดปกติในการออกฤทธิ์ของอินซูลินหรือทั้งสองประการ
เรามาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเบาหวานกันดีกว่า
เบาหวานมีอาการเป็นอย่างไร
ทำไมคนอ้วนจึงเป็นเบาหวาน
ถ้าควบคุมไม่ได้จะมีแนวทางรักษาอย่างไร
วิธีการตรวจเบาหวาน
ทำไมเป็นเบาหวานแล้วน้ำหนักลด
เบาหวานมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
เบาหวานชนิดที่ 1 คือ
เบาหวานชนิดที่ต้องรักษาด้วยอินซูลิน(insulin
dependent diabetes mellitus)
เบาหวานชนิดที่ 2
คือ เบาหวานชนิดที่ไม่ต้องรักษาด้วยอินซูลิน (non - insulin dependent
diabetes mellitus)
เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ต้องรักษาด้วยอินซูลิน
( insulin dependent diabetes mellitus)
เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินหรือรักษาด้วยการต้องให้ฮอร์โมนอินซูลิน
เกิดจากการที่เบตาเซลล์ถูกไวรัส หรือถูกภูมิคุ้มกันของตนเอง (autoimmune
disease) ทำลาย ทำให้สร้างอินซูลินไม่ได้ และส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์
มักพบว่าเป็นเบาหวานตั้งแต่เด็ก (juvenile onset)
การรักษา
=> โดยการต้องฉีดฮอร์โมนอินซูลินให้ทดแทน ปัจจุบันยังไม่มีฮอร์โมนอินซูลินชนิดรับประทาน
เพราะอินซูลินเป็นโปรตีนที่มีโมเลกุลใหญ่ เมื่อเข้าไปในกระเพาะอาหารจะถูกทำลายด้วยกรดเกลือ
(HCL) ที่อยู่ในกระเพาะให้แตกตัวไปก่อน
|
|
อินซูลินและอุปกรณ์การฉีด
|
ปากกาฉีดอินซูลิน |
เด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 กำลังฉีดอินซูลินด้วยตนเอง
เบาหวานชนิดที่
2 เบาหวานชนิดที่ไม่ต้องรักษาด้วยอินซูลิน(non
- insulin dependent diabetes mellitus)
เบาหวานชนิดที่รักษาไม่ได้ด้วยอินซูลิน
มักค่อยๆ เกิด พบในผู้ที่มีอายุมากขึ้นแล้ว คนอ้วน ผู้ที่มีเนื้องอกของไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์
ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ กรรมพันธุ์ โดยพบว่าหากฝาแฝดคนหนึ่งเป็นเบาหวาน
อีกคนจะเป็นเบาหวานตามมาก่อนอายุ 50 ปี ขณะนี้มีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าคนที่เป็นเบาหวานประเภทที่
2 มีอาการเบาหวานก่อนจึงอ้วนเนื่องจากทำลายไขมันไม่ได้ดี ไม่ใช่เป็นเพราะว่าอ้วนก่อนจึงเป็นเบาหวาน
นอกจากนี้การมีภาวะเครียดเกิดขึ้นเช่นการติดเชื้อ การตั้งครรภ์ จะทำให้มีการรุนแรงขึ้น
แต่โดยทั่วไปเบาหวานประเภทนี้ความรุนแรงจะน้อยกว่าชนิดที่ 1
สาเหตุของการเกิดยังไม่ทราบแน่นอน
อาจเกิดจากการอินซูลินออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมายไม่ได้หรือมีการหลั่งอินซูลินลดน้อยลง
เช่นในกรณีที่มีแอนติบอดีมาแย่งจับกับอินซูลิน ทำให้มีอินซูลินไม่พอมาจับกับตัวรับสัญญาณ
หรือมีแอนติบอดีมาแย่งจับกับตัวรับสัญญาณทำให้ตัวรับสัญญาณมีไม่พอ
แต่ไม่พบหลักฐานว่าเกิดจากการติดเชื้อหรือเกิดจากการต่อต้านภูมิคุ้มกันของตนเอง
การรับประทานอาหารที่มีแป้ง
น้ำตาลและไขมันมากและความอ้วนจะทำให้อาการเบาหวานรุนแรงขึ้น
ชีวิตประจำวันที่ขาดการออกกำลังกาย
รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมาก ไขมันมากเกินไป ทำให้อ้วน การที่คนอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของการเป็นเบาหวานเกิดขึ้นจากการที่คาร์โบไฮเดรตและไขมันแตกตัวเป็นกรดไขมันและ
กลีเซอรอลจากไทรกลีเซอรายด์ถูกเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาล
ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ร่างกายปรับตัวในขั้นแรกด้วยการลดจำนวนตัวรับสัญญาณลง
เพื่อไม่ให้เซลล์ถูกกระตุ้นมากเกินไป ซึ่งต่อมาทำให้จำนวนตัวรับสัญญาณมีไม่พอ
และ ดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) เมื่อเป็นแล้วจะทำให้เนื้อเยื่อตอนปลายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยลง
เบตาเซลล์ไม่ทำงาน ( beta cell dysfunction) ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่าโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร(metabolic
syndrome)
การรักษา
เป็นยาที่ทำให้เบตาเซลล์ทำงานได้ดีขึ้น เช่นซัลโฟนิว
ยูเรีย (sulphonyl urea) ตัวรับอินซูลิน (insulin receptor) ทำงานได้มากขึ้น
หรือการให้ยาลดน้ำตาลในเลือด
เนื้อสัตว์ ผัก ธัญพืช ผลไม้ที่ไม่มีรสชาติหวานมาก
เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ระดับน้ำตาลที่สูงจะทำให้ตัวรับสัญญาณของอินซูลินลดจำนวนลงเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป ทำให้นำน้ำตาลเข้ากระแสเลือดได้น้อย
การลดระดับน้ำตาลในเลือดจะทำให้ตัวรับสัญญาณกลับมาเพิ่มมากขึ้น โดยต้องงดอาหารที่มีระดับคาร์โบไฮเดรต
ไขมันสูงเพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มมากขึ้น
เพราะอาหารประเภทนี้ไม่ย่อยและดูดซึมน้อยเหลือเป็นกากทำให้ลดการดูดซึมไขมันและแป้งด้วย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ตัวขนส่งกลูโคส
GLUT4 ขนส่งกลูโคสเข้าเซลล์ได้ดีขึ้น และทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้นาน
และตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดีขึ้น ดังนั้นถ้าได้รับการฉีดอินซูลิน ต้องระวังถ้าออกกำลังกายเป็นระยะเวลานาน
การออกกำลังกายจะทำให้มีการเผาผลาญกลูโคสได้ดีขึ้น
ในปัจจุบันแม้ว่าเป็นเบาหวานชนิดไม่ต้องพึ่งฮอร์โมนอินซูลินก็มีการให้ฮอร์โมนอินซูลินในการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น
ในปัจจุบันการค้นหาวิธีการรักษาเบาหวานเป็นที่สนใจของนักวิจัยเป็นอย่างมาก
ได้แก่ วิธีพันธุวิศวกรรม การใช้เซลล์ต้นกำเนิด การใช้ยาพ่นทางจมูก
การใช้อินซูลินสังเคราะห์
-
พันธุวิศวกรรม
-
การใช้เซลล์ตัวอ่อน
-
การพ่นทางจมูก
-
อินซูลินสังเคราะห์
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน
การคัดกรองเบาหวานสามารถทำได้หลายวิธี
ได้แก่
-
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-
อาการและอาการแสดง
1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1.1
วิธีการตรวจเบาหวานอย่างง่าย
ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง
1.2
การตรวจโดยใช้หยดเลือดปลายนิ้ว
|
|
|
เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด |
เจาะเลือดที่ปลายนิ้วด้วยตนเอง
นำแผ่นตรวจไปซับเลือด |
เครื่องตรวจอ่านค่าระดับน้ำตาลในเลือด
|
วิธีการ
1.
นำแผ่นตรวจออกมา 1 แผ่น
2.
เจาะเลือดปลายนิ้วด้วยเข็มหรือปากกาเจาะเลือด นำเลือดมาใส่ที่แผ่นตรวจหรือให้แผ่นตรวจซับเลือดที่ปลายนิ้ว
3.
นำแผ่นตรวจมาใส่ในเครื่องอ่านผลน้ำตาลในเลือด (ค่าปกติต้องไม่เกิน
110 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร)
1.3
การตรวจโดยใช้ปัสสาวะ
ตรวจได้
2 อย่าง คือ ตรวจหาน้ำตาลที่ไตไม่สามารถกรองได้หมดและตรวจหาค่าคีโตนที่เหลือจากการใช้
|
|
|
ปัสสาวะ |
แผ่นตรวจน้ำตาลและขวดใส่มีสีเทียบ |
แผ่นตรวจคีโคนและขวดใส่มีสีเทียบ |
วิธีการ
=> ปัสสาวะใส่กระป๋องที่สะอาด ใช้แผ่นตรวจจุ่มในปัสสาวะแล้วนำมาเทียบสีกับค่าข้างขวด
ซึ่งจะบอกว่ามีระดับน้ำตาลหรือคีโตนมากน้อยเท่าไร
การวินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติหรือเป็นเบาหวานหรือไม่
เรียกว่า การทดสอบความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance
test)
วิธีการ
=> ผู้ต้องการตรวจต้องงดรับประทานอาหารอย่างน้อย
8 ชั่วโมง
เจาะเลือดดูระดับน้ำตาลหลังงดอาหารมาแล้วอย่างน้อย
8 ชั่วโมง
ให้ดื่มน้ำตาล
75 กรัมให้หมดภายใน 5 นาที
เจาะเลือดดูระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังดื่มน้ำตาล
30 นาที 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง และ 3 ชั่วโมงตามลำดับ
ค่าปกติ
ระดับน้ำตาลหลังงดอาหาร
(fasting blood) 60-110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับน้ำตาลหลังดื่ม
1 ชั่วโมงไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับน้ำตาลหลังดื่ม
2 ชั่วโมงไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ถ้าผลของน้ำตาลในเลือดปกติแสดงว่าผู้ป่วยควบคุมเบาหวานได้ดี
จริงหรือไม่?
แพทย์สามารถติดตามได้ว่าผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีหรือไม่จากการตรวจปริมาณฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ
(glucosylated hemoglobin) โดยวัดจากโมเลกุลของกลูโคสที่จับกับฮีโมโกลบินเอ
ซึ่งจะทำให้โครงสร้างเปลี่ยนไปเรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ วัน ซี(hemoglobin
A 1C: HbA 1C) ปริมาณของ HbA 1 จะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณน้ำตาลในเลือด
การรวมตัวของฮีโมโกลบินและกลูโคสจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของเม็ดเลือดแดง
คือ 120 วัน ทำให้ทราบว่าในช่วง 120 วันที่ผ่านมาปริมาณกลูโคสเป็นเท่าไร
|
|
ปริมาณน้ำตาลปกติที่เกาะอยู่กับเม็ดเลือดแดง
(ฮีโมโกลบินเอ วัน ซี) |
ปริมาณน้ำตาลที่มากเกาะอยู่กับเม็ดเลือดแดง
(ฮีโมโกลบินเอ วัน ซี) |
อาการผู้ป่วยเบาหวาน
โรคนี้จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งถ้าสูงเกินระดับที่ไตสามารถกรองได้คือสูงเกิน
180 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร จะทำให้มีการตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
(glycosuria) (ค่าปกติ 80 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ถึง 110 มิลลิกรัมต่อ
100 มิลลิลิตร )
อาการของผู้ป่วยเบาหวาน
ทำให้น้ำและอิเล็กโทรไลต์ต่างๆ
เช่น โซเดียมและคลอไรด์ออกไปกับปัสสาวะมากขึ้น เนื่องจากการดูดกลับของโซเดียมลดน้อยลงทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายลดลงด้วย
ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก (polyphagia) ขึ้นด้วย
เนื่องจากน้ำตาลเข้าเซลล์ไม่ได้
ร่างกายต้องสร้างกลูโคสจากการเผาผลาญไขมันและโปรตีนมาใช้เป็นพลังงานแทน
จึงทำให้น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย เซื่องซึม เมื่อยล้า
อาการของผู้ป่วยเบาหวาน
การทำลายของโปรตีนจะยับยั้งการเจริญเติบโต
การสมานแผล ผิวหนังพุพอง เป็นตุ่มฝีและติดเชื้อ (infection) ได้ง่าย
การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ผนังของเส้นเลือดหนา
ขาดความยืดหยุ่นและเปราะง่าย การแลกเปลี่ยนอาหารและแก๊สเสียไปทำให้เนื้อเยื่อส่วนปลายได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอทำให้เป็นแผลบ่อยๆและหายยาก
ทำให้เนื้อเยื่อเน่า (gangrene) นอกจากนี้ยังมีผลต่อเรตินาที่ตา ทำให้นัยน์ตาฟาง
มองภาพไม่ชัด จอประสาทตาเสื่อม (diabetes retinopathy) เส้นเลือดฝอยที่ตาแตกทำให้ตาบอด
เป็นต้อหิน (glaucoma) ต้อกระจก (cataract) และมีผลต่อหลอดเลือดที่ไตทำให้สูญเสียอัลบูมิล
(albumin) ไปกับปัสสาวะ เกิดโรคไต (diabetes nephropathy) ความดันโลหิตสูงได้
อาการแทรกซ้อนจากการเป็นเบาหวาน
|
ทำไมเป็นเบาหวานร่างกายจึงใช้โปรตีนแทนน้ำตาลกลูโคส
ทั้งๆ ที่มีน้ำตาลกลูโคสอยู่ในกระแสเลือดจำนวนมาก ?
|
|
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดของเบาหวาน
คือ เมื่อร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลเป็นพลังงานได้ จะเผาผลาญไขมันที่ตับเพื่อใช้เป็นพลังงานแทน
ซึ่งจะได้แอซิติล โคเอ (acetyl CoA) มากเกินกว่าที่วัฏจักรเครบส์หรือเซลล์อื่นๆ
จะนำไปเผาผลาญได้หมด บางส่วนของแอซิติล โคเอ จึงเปลี่ยนเป็นคีโทนบอดี
(ketone body) ซึ่งเป็นกรด ทำให้ pH ของร่างกายต่ำลง และทำให้มีคีโทนในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ
(ketonemia) และเหลือออกมาในปัสสาวะ (ketonuria) มากขึ้น ร่างกายไม่สามารถขับออกได้ทัน
เรียกภาวะนี้ว่าคีโทแอซิโดซิส (ketoacidosis ) นอกจากไขมัน ร่างกายยังเปลี่ยนโปรตีนมาเป็นกลูโคสทดแทนได้ด้วย
ซึ่งจะทำให้ได้กรดอะมิโนเข้าวัฏจักรเครบส์ให้พลังงานออกมาเช่นกัน ทำให้มีการสร้างโปรตีนลดน้อยลงแต่มีการทำลายเพิ่มมากขึ้น
ทำให้มีการขับไนโตเจนออกทางในปัสสาวะ และเสียน้ำไปทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
การเกิดคีโทนในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานขั้นโคม่า
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ร่างกายขาดน้ำ
ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้ความดันโลหิตลดลง เลือดไปเลี้ยงสมอง ไตน้อยลง
จนทำให้อาการรุนแรง (coma) ถึงแก่ชีวิตได้
|