คุณจำเหตุการณ์ทุกอย่างในชีวิตได้หรือไม่
|
||
ความจำเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้
สมองของคนเรามีเส้นทางของความทรงจำ อย่างน้อย 5 อย่าง คือ |
||
1.
ความจำภาษา คำพูด ความหมายของคำต่างๆ (semantics) 2. ความจำสถานที่ ตำแหน่งที่อยู่ (episodic or location) 3. ความจำขบวนการ ขั้นตอน (procedure) 4. ความจำ อัตโนมัติ (automatic) 5. ความจำทางอารมณ์ (emotion) เป็นความจำเหนือความจำอื่นๆ ซึ่งเป็นเส้นทางไปเก็บ สะสมข้อมูลที่ถาวรในสมอง |
||
ความจำมีหลายลักษณะได้แก่
ความจำที่สามารถควบคุมได้ (voluntary) มักเป็น ความจำเกี่ยวกับคำพูด ภาษา ฯลฯ ส่วนความจำที่เป็นแบบอัตโนมัติมักเป็นความจำเกี่ยวกับ อารมณ์หรือกระบวนการทำงาน ที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรประจำวัน หรือใช้บ่อยๆเช่น การเดิน ขึ้นลงบันได โดยข้อมูลทั้งหมดที่เราสนใจหรือสำคัญ จะถูกเก็บไว้เป็นความจำถาวร ซึ่ง มักเกิดขึ้นขณะหลับ |
||
นอกจากนี้ยังมีผู้แบ่งความจำเป็นประเภทต่างๆ ตามระยะเวลาดังนี้ 1. ความจำได้ทันที (immediate memory) เป็นความจำที่เกิดขึ้นทันทีหลังได้รับข้อมูล ได้้แก่ความจำได้เกี่ยวกับตัวเลข ซึ่งสามารถทดสอบได้ โดยให้ผู้ถูกทดสอบผู้ตัวเลขตาม ผู้ทดสอบหรือพูดตัวเลขย้อนกลับจากผู้ทดสอบ เช่น ผู้ทดสอบกล่าวตัวเลข 2,8 และให้ผู้ถูก ทดสอบพูดตามทันที่โดยพูดกลับกันว่า 8,2 |
||
|
||
โดยเฉลี่ยบุคคลทั่วไป มักจะสามารถพูดตัวเลขซ้ำเลียนแบบผู้ทดสอบได้ประมาณ
5-7 ตัว แต่ถ้าพูดกลับด้านกัน จากด้านหลังมาด้านหน้าจะจำได้ประมาณ 4-6 ตัว |
||
2. ความจำระยะสั้น
(recent memory) เป็นความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือคำพูดที่เกิดขึ้น ในระยะเวลาสั้น เป็นหลายนาที ถึงชั่วโมง ในการประเมินมักใช้คำถามต่อไปนี้ คุณกำลังทำอะไรก่อนที่จะมาที่นี่ ? เช้านี้คุณตื่นนอนกี่โมง ? มื้อที่แล้วคุณ รับประทานอาหารอะไร ? |
||
3. ความจำระยะยาว (remote memory) เป็นความจำเกี่ยวกับ คำพูดหรือเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายชั่วโมง หลายวันจนถึงหลายปี คำถามที่ใช้ในการประเมินได้แก่ คุณเกิดที่ไหน ? โรงเรียนมัธยมที่คุณสำเร็จการศึกษาชื่ออะไร ? |
||
ตัวอย่างการเรียนรู้ ที่เรามักพบเสมอๆ ในโรงเรียนได้แก่ การให้เด็กเรียนหนังสือมากมาย แต่จะมีผลเพียงระยะเวลาสั้นๆ พอสอบเสร็จก็ลืม หรือการลืมความรู้ในวัยเด็ก เมื่อเราเติบโต เป็นผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่มีความหมาย แม้ว่าในขณะเรียน จะท่องจำมากมายและอาจทำคะแนนสอบได้ดีแต่จะไม่อยู่ในสมองอย่างถาวร และไม่ช่วย ส่งเสริมการเจริญเติบโตของสมอง ฉะนั้นเราควรให้ความรู้แก่ เด็กเท่าที่จำเป็นเรียนแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เด็กมีีเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมบ้างช่วยให้ สมองได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพครบทุกส่วน ไม่ใช่ให้เรียนมากมายเกินความจำเป็น สุดท้ายก็จำอะไรไม่ได้เมื่อโตขึ้น ซึ่งเป็นการทำลายโอกาสในการพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง กับไหวพริบ จินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะชีวิตและสังคม และยังไม่สามารถ แก้ปัญหาชีวิตที่อยู่นอกตำราเรียนได้ |
||
ส่วนความจำทางอารมณ์ที่เป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ทุกชนิดได้แก่ อารมณ์เศร้าทุกข์ ์เครียด กลัว โกรธ เป็นความจำที่มีอำนาจเหนือความจำอื่นๆ คือ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถ จดจำข้อมูลที่เป็นเหตุผลอื่นๆ ได้เพราะเมื่อเกิดความเครียดจะทำให้้ฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) หลั่งออกมายับยั้งการเรียนรู้ และคิดอะไรไม่ออกไม่มีเหตุผล สมองส่วนที่เก็บ ความจำทางอารมณ์จะพัฒนาในช่วงอายุ 2-3 ปีแรกของชีวิต ดังนั้นถ้าเราจะพัฒนาอารมณ์ ์เด็กต้องอยู่ในช่วงวัยดังกล่าว ถ้าเลยช่วงอายุนี้จะพัฒนายากขึ้นกล่าวคือ ถ้าเด็กไม่ได้ฝึกฝน ในการควบคุมอารมณ์ก็จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีเมื่อโตขึ้น |
||
คนที่มีความจำเสื่อมจะเกิดผลอย่างไรต่อชีวิต ใครมีโอกาสเป็นบ้างอยากรู้ต้องศึกษาต่อจ๊ะ |
||