เชื่อกันว่าพืชกลุ่ม
trimerophytes ได้วิวัฒนาการมาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายพืชเมล็ดเปลือยแต่ผลิตสปอร์คล้ายเฟิร์น
(progymnosperm) ซึ่งปรากฏครั้งแรกในช่วงกลางยุคดีโวเนียน
ทั้งนี้ progymnosperm ได้วิวัฒนาการคู่ขนานเป็นเฟิร์นมีเมล็ด
(seed fern) และพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) ซึ่งก็คือ พืชจำพวก
สน ปรง และแปะก๊วย อีกด้วย
วิวัฒนาการครั้งสำคัญของพืชกลุ่ม
progymnosperm คือการสร้างเนื้อไม้แข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างเนื้อเยื่อเจริญ
(cambium) ที่แบ่งตัวเองได้หลายครั้งทำให้สามารถเจริญทางด้านข้างได้
ส่งผลให้ลำต้นมีความแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้น การเกิดวิวัฒนาการในลักษณะนี้ส่งผลต่อขนาดลำต้นของพืชกลุ่มเฟิร์นมีเมล็ดและกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยที่เกิดต่อมาด้วย
ซากดึกดำบรรพ์ของ Archaeopteris sp.
ซึ่งเป็น progymnosperm ที่มีลักษณะใบคล้ายเฟิร์นและสร้างสปอร์
แต่มีลักษณะต้นเป็นเนื้อไม้คล้ายพืชเมล็ดเปลือย
ปรง
พืชเมล็ดเปลือยมีลักษณะเด่นคือ
ออวุลและละอองเรณูจะติดอยู่บนกิ่งหรือแผ่นใบซึ่งจะอยู่รวมกันที่ปลายกิ่ง
เรียกว่า โคน (cone) โดยจะแยกเป็นโคนเพศผู้และโคนเพศเมีย เมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น
ออวุลจะเจริญต่อไปเป็นเมล็ดที่ติดอยู่ที่กิ่งหรือแผ่นใบ พืชเมล็ดเปลือยเป็นพืชกลุ่มที่มีเนื้อไม้เจริญดี
ทำให้มีลำต้นขนาดใหญ่และนับเป็นพืชกลุ่มเด่นตั้งแต่ยุค
คาร์บอนิเฟอรัสเรื่อยมาจนถึงยุคจูแรสซิก
ลักษณะป่าเฟิร์นและปรงที่พบได้ทั่วไปในโลกยุคคาร์บอนิเฟอรัส
|