บทนี้น้องจะได้เรียนรู้ว่าอะไรทำให้สารละลายกรดและเบสมีสมบัติต่างกัน
จากการศึกษาสมบัติของสารละลาย
พบว่า สารละลายกรดและสารละลายเบส
เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์
นำไฟฟ้าได้
เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
ทำปฏิกิริยากับโลหะและเกลือ
กรดและเบสสามารถแตกตัวเป็นไอออน
เมื่อเป็นสารละลาย
เราจะศึกษาต่อไปถึงไอออนในสารละลายกรดและเบส
ซึ่งทำให้สารละลายแสดงสมบัติเฉพาะตัวดังกล่าว
ไอออนในสารละลายกรด
ในสารละลายกรดทุกชนิด จะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่ส่วนหนึ่งคือ H+ หรือ เมื่อรวมกับน้ำได้เป็น H3O+( ไฮโดรเนียมไอออน) ทำให้กรดมีสมบัติเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ซึ่งเกิดจากกรด HCl ละลายในน้ำ โมเลกุลของ HCl และ น้ำต่างก็เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้ว ทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างขั้วของ HCl และน้ำ โดยที่โปรตอน (H+) ของ HCl ถูกดึงดูดโดยโมเลกุลของน้ำเกิดเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H+ + H2O H3O+) ในบางครั้งเขียนแทน H3O+ ด้วย H+ โดยเป็นที่เข้าใจว่า H+ นั้นจะอยู่รวมกับโมเลกุลของน้ำในรูป H3O+ เสมอ
HCl (g) + H2O (l)
H3O+ (aq) + Cl- (aq)
ไฮโดรเนียมไอออนในน้ำไม่ได้อยู่เป็นไอออนเดียว
แต่จะมีน้ำหลายโมเลกุลมาล้อมรอบอยู่ด้วย
เช่น อาจอยู่ในรูปของ
H5O2+, H7O3+
, H9O4+ เป็นต้น
แล้วในสารละลายเบสล่ะมีอะไร อยากรู้ก็คลิกหน้าต่อไปซิ
|