|
|
รูปที่ 3.21สารโครงร่างเซลล์ |
|
โครงสร้าง | |
- เป็นร่างแห ตาข่ายของเส้นใยโปรตีนที่แผ่ขยายปกคลุมอยู่ทั่วไซโทพลาซึม - ทำหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ โดยทำให้เซลล์ทนต่อแรงอัดจากภายนอก - เส้นใยโปรตีนที่ประกอบเป็นสารโครงร่างเซลล์ มี 3 ชนิด คือ ไมโครทูบูล ไมโครฟิลาเมนต์ และอินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนต |
|
รูปที่ 3.22 โครงสร้างของไมโครทูบูล ไมโครฟิลาเมนต์ และอินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนต์ |
|
|
|
|
|
โครงสร้าง | |
-ไมโครทูบูล (microtubule) เป็นแท่งกลวง
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 นาโนเมตร ยาว 200 นาโนเมตร 25 นาโนเมตร - ประกอบด้วยโปรตีนก้อนกลม (globular protein) ชื่อว่าทูบูลิน (tubulin) ซึ่ง มี 2 หน่วยย่อย คือ แอลฟาทิวบูลิน (alpha tubulin) และบีตาทูบูลิน (beta tubulin) - เซนโทรโซม (centrosome) เป็นศูนย์ควบคุมการประกอบไมโครทูบูล ซึ่ง อยู่ใกล้ ๆ กับนิวเคลียส ภายในบริเวณ เซนโทรโซมจะพบเซนทริโอล จำนวน 1 คู่ เซนทริโอล 1 อัน มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ประกอบด้วยท่อไมโครทูบูล 3 ท่อ จำนวน 9 ชุด มาเรียง ตัวกันเป็นวงแหวน ตรงกลางไม่มีท่อทูบูลิน เรียกโครงสร้าง แบบนี้ว่า 9 + 0 - เซนทริโอล คู่นี้ จะวางตั้งฉากกันและเกี่ยวข้องกับการแยกโครโมโซม ระหว่างการ แบ่งตัวของเซลล์ - เซนโทรโซม ในเซลล์พืชส่วนใหญ่ไม่มีเซนทริโอล |
|
รูปที่ 3.24 การจัดเรียงตัวของไมโครทูบูลในแฟลเจจลาและ |
|
หน้าที่ของไมโครทูบูล |
|
- ช่วยรักษารูปร่างของเซลล์ ไมโครทูบูล
เปรียบเสมือนแท่งเหล็กที่ทนต่อแรงอัด ภายนอก - ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของซิเลีย และแฟลเจลลา ซึ่งส่งผลให้เซลล์ที่มีซิเลีย หรือ แฟลเจลา เป็นส่วนประกอบเกิดการเคลื่อนที่ได้ (ไมโครทูบูลในซิเลีย และแฟลเจลลา จะมีการเรียงตัวแบบ 9+2 ซึ่งประกอบด้วยไมโครทูบูล 2 ท่อ จำนวน 9 ชุด จัดเรียงตัว เป็นวงแหวนโดยตรงกลางมีท่อไมโครทูบูลจำนวน 2 ท่อวางอยู่ - ช่วยในการแยกโครโมโซมระหว่างเซลล์กำลังแบ่งตัว - ช่วยในการเคลื่อนที่ของออร์แกเนลล์ |
|
รูปที่ 3.26 โครงสร้างแฟลเจลลา |
|
รูปที่ 3.27 การโบกพัดซีเลียของพารามีเซียม |
|
|
|
รูปที่ 3.28 เส้นใยไมโครฟิลาเมนต์ |
|
|
|
โครงสร้าง | |
- เป็นเส้นใยขนาดบาง และยาวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
7 นาโนเมตร - ประกอบด้วยโปรตีนก้อนกลม ชื่อว่า แอคทิน (actin) โดย ไมโครฟิลาเมนต์ 1 เส้น ประกอบด้วย 2 สายของแอคทิน ที่พันกันเป็นเกลียว |
|
หน้าที่ | |
- ช่วยรักษารูปร่างของเซลล์ โดยไมโครฟิลาเมนต์จะทำให้เซลล์ทนต่อแรงดึง - มีบทบาทสำคัญในการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ โดยมีไมโอซิน เป็น มอเตอร์ โมเลกุล (motor molecule) - เป็นส่วนประกอบใน ไมโครวิลไล (microvilli) ของ เซลล์บุผิวภายในลำไส้ (intestinal cell) ทำหน้าที่เพิ่มพื้นที่ผิวให้แก่เซลล์บุผิวภายในลำไส้ - มีบทบาทในการเคลื่อนที่แบบอะมีบา (amoeboid movement) ของเซลล์ และทำให้เกิด รอยแยกสำหรับเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว - เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของไซโทพลาซึม ในเซลล์พืช (cytoplasmic streaming) |
|
|
|
รูปที่ 3.30 เส้นใยอินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนต์ |
|
โครงสร้าง | |
- เป็นเส้นใยโปรตีนที่มีขนาดใหญ่กว่าไมโครฟิลาเมนต์
แต่เล็กกว่าไมโครทูบูล - ประกอบด้วยโปรตีนที่อยู่ในกลุ่มเคอราติน (keratin family) |
|
หน้าที่ | |
- ช่วยรักษารูปร่างของเซลล์อินเตอร์
มีเดียท ฟิลาเมนต์ ทนต่อแรงดึงภายนอก เช่นเดียวกับไมโครฟิลาเมนต์ - ช่วยยึดออร์แกเนลล์ บางอย่างให้อยู่กับที่ เช่น นิวเคลียสถูกยึดให้อยู่ในกรงที่ทำด้วย อินเตอร์ มีเดียท ฟิลาเมนต์ - สร้าง นิวเคลียร์ลาร์มินาร์ (nuclear larninar) |