การแปลรหัส (translation) คือแปลรหัสของ mRNA โดยที่ mRNA tRNA และ rRNA
ทำหน้าร่วมกันในการสังเคราะห์โปรตีนหรือสายโพลีเป็ปไทด์บนไรโบโซมโดยมีตัวช่วยสร้างคือ
เอ็นไซม์และแฟกเตอร์ต่างๆ

       1) mRNA (แมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอ)ทำหน้าที่นำข้อมูลทางพันธุกรรมที่จำเพาะต่อ
กรดอะมิโนสำหรับการสร้างสายโพลีเป็ปไทด์์มาจาก DNA ข้อมูลทางพันธุกรรมนั้นคือลำดับ
เบส ซึ่งจะมีความหมายในการแปลเป็นกรดอะมิโนเมื่ออ่านทีละ 3 ตัวเรียงต่อกันจากปลาย 5'
ไป 3' บน mRNA ที่เรียกว่า ทริปเพลทโคดอน (triplet codon) หรือ โคดอน

       2) tRNA (ทรานสเฟอร์อาร์เอ็นเอ)ทำหน้าที่เป็นผู้ตีความข้อมูลทางพันธุกรรมโดย
นำกรดอะมิโนในไซโทพลาสซึมที่ติดมากับปลาย 3' ของ tRNA มาสู่โคดอนที่อยู่บนสาย
mRNA ในตำแหน่งที่ถูกต้อง tRNA แต่ละชนิดมีลำดับเบสคู่สม (complementary base)
ที่มีความจำเพาะกับโคดอนบนสาย mRNA เรียกแอนติโคดอน (anticodon)

       3) rRNA (ไรโบโซมอลอาร์เอ็นเอ) ทำหน้าที่ในการจับไรโบโซมอลโปรตีนเพื่อประกอบ
เป็นไรโบโซมที่ถูกต้อง และ ส่วนที่ี่ยื่นออกมาจากโปรตีนจะจับ mRNA ให้อยู่ในตำแหน่งที่
ถูกต้องในการสังเคราะห์สายโพลีเป็ปไทด์์




รูปที่ 3.15  แสดงมิติสัมพัทธิ์ของส่วนประกอบของเครื่องมือทางโมเลกุลที่ใช้
ในการสังเคราะห์โปรตีน

การสังเคราะห์โปรตีนมี 3 ขั้นตอนโดยสังเขป

1 ขั้นเริ่มต้น (initiation)

        ไรโบโซมหน่วยย่อยเล็กมาจับที่ mRNA จากนั้น tRNA ที่นำกรดอะมิโนตัวแรก
เข้ามาจับ แล้วไรโบโซมหน่วยย่อยใหญ่จึงมาจับ mRNA เป็นลำดับต่อไป

2 ขั้นต่อสาย (elongation)

        ไรโบโซมเคลื่อนที่ไปตามสาย mRNA จากปลาย 5' ไป 3' และมีการต่อสายโพลี
เป็ปไทด์ให้ยาวขึ้นเรื่อยๆจากปลายอะมิโนไปสู่ปลายคาร์บอกซิล

3 ขั้นหยุด (termination)

        เป็นขั้นตอนการหยุดสร้างสายโพลีเป็ปไทด์์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไรโบโซมเคลื่อนที่มาถึง
โคดอนหยุด (stop codon) และจะไม่มี tRNA นำกรดอะมิโนมาต่อสายโพลีเป็ปไทด์์อีก
ในขั้นนี้มีการปลดปล่อยสายโพลีเป็ปไทด์์ mRNA และไรโบโซมออกจากกัน




รูปที่  3.16  แสดงแนวคิดรวบยอดของการแปลรหัส