การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตโดยอาศัย
ความรู้เรื่องการคัดเลือกพันธุ์และผสมพันธุ์โดยมนุษย์
ตัวอย่างเช่น ข้าวโพดที่ปลูกกันในปัจจุบันมีหลายพันธุ์
เช่น พันธุ์สุวรรณ1 พันธุ์ปากช่อง
1602 พันธุ์ฮาวายหวานพิเศษ ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 เป็นที่นิยมปลูกกันมากได้มาจากการ
คัดเลือกพันธุ์ุ์และผสมพันธุ์ของข้าวโพดที่มีลักษณะเด่นจากเขตร้อนในแถบต่างๆ
ของโลก
จํานวน 36 พันธุ์ด้วยกัน ลักษณะพิเศษของข้าวโพดพันธุ์นี้คือ เมล็ดแข็งใสสีส้มต้านทานโรครา
นํ้าค้างได้ดี และให้ผลผลิตสูง ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้สารกัมมันตรังสีตั้ง
แต่ปี 2498 ข้าวพันธุ์ กข 6 กข10 และ กข15 เป็นพันธุ์ที่เกิดขึ้นโดยใช้รังสีทั้งสิ้น
ข้าวพันธุ์
กข 6 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวได้มาจากการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ
105 มีลักษณะ
พิเศษคือให้ผลผลิตสูงต้านทานโรคไหม้ และโรคใบจุดสีนํ้าตาลได้ดีหลักฐานเหล่านี้แสดงว่า
สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นในอดีตอันยาวนาน สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติก็น่าจะมีการ
เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดในอัตราที่ช้ากว่ามากและเกิดในทิศทางที่กําหนดโดย
ธรรมชาติ
รูปที่
6.14 ข้าวโพดพันธุ์ สุวรรณ 1 และ ข้าวพันธุ์ กข ที่ได้จากการ
คัดเลือกและผสมพันธุ์
โดยมนุษย์
(ที่มา
: http://yasothon.doae.go.th)