

ฟังก์ชันสภาวะ
(state function)
คือ สมบัติที่ถูกกำหนดโดยสภาวะของระบบ (state of a system)
ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะเริ่มต้นและสภาวะสุดท้ายของระบบเท่านั้น
โดยไม่สนใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดผ่านวิธีใด
สภาวะของระบบจะขึ้นอยู่กับสมบัติมหภาคที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
เช่น องค์ประกอบ พลังงาน อุณหภูมิ ความดัน และปริมาตร ซึ่งเราเรียกสมบัติมหภาคเหล่านี้ว่าเป็น
ฟังก์ชันสภาวะ |
|
 |
แล้วสมบัติมหภาคนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง
? |
ตัวอย่างของฟังก์ชันสภาวะ
นักปีนเขา 2 คนเริ่มปีนเขาที่จุดเดียวกัน แต่ใช้เส้นทางในการปีนต่างกัน
ท่านคิดว่า เมื่อนักปีนเขาปีนไปบนยอดเขาได้สำเร็จ นักปีนเขาทั้ง
2 คน จะมีพลังงานศักย์เท่ากันหรือไม่ อย่างไร ?
เมื่อนักปีนเขาปีนไปบนยอดเขาได้สำเร็จและยืนอยู่ที่จุดเดียวกัน นักปีนเขาทั้ง
2 คน ต่างก็มีพลังงานศักย์เท่ากัน เพราะว่าพลังงานศักย์ที่ว่าเกิดจากแรงดึงดูดของโลก
ซึ่งนักปีนทั้ง 2 คน ต่างก็ถูกกระทำเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกเท่ากัน
ไม่ว่าเขาจะใช้วิธีใดก็ตาม เราจึงกล่าวได้ว่า พลังงานศักย์ (รวมทั้งพลังงานอื่นๆ)
เป็นฟังก์ชันสภาวะ