|
ถ้าเราต้องการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี
เราจะทราบได้อย่างไรว่า เราจะพิจารณาอยู่ในขอบเขตกว้างแค่ไหน
และเราจะมีวิธีการกำหนดขอบเขตนั้นอย่างไร ? |
ในการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี
เรามักจะกำหนด ระบบ (system)
หรือส่วนเฉพาะที่เราสนใจเป็นอันดับแรก ซึ่งในทางเคมีแล้ว ระบบจะประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและทางเคมี เช่น ระบบอาจจะเป็นบีกเกอร์บรรจุ
HCl ปริมาตร 50 mL แล้วเติม NaOH ปริมาตร 50 mL ลงไป ส่วนสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากระบบแต่อยู่ในจักรวาล
(universe) เรียกว่า สิ่งแวดล้อม
(surroundings)
จักรวาล = ระบบ
+ สิ่งแวดล้อม
ระบบมี 3 แบบ :
1.
ระบบเปิด (open system) มีการแลกเปลี่ยนทั้งมวลและพลังงาน
(ความร้อน) กับสิ่งแวดล้อม
2.
ระบบปิด (closed system)
มีการแลกเปลี่ยนเฉพาะพลังงาน (ความร้อน) กับสิ่งแวดล้อม
3.
ระบบโดดเดี่ยว (isolated system) ไม่มีการแลกเปลี่ยนทั้งมวลและพลังงาน
(ความร้อน) กับสิ่งแวดล้อม
ระบบที่ว่านี้อาจจะเป็นขวดบรรจุน้ำก็ได้
|
ถ้าเราเปิดฝาขวดไว้ ก็จะมีการระเหยของไอน้ำ และมีการถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
เราเรียกระบบแบบนี้ ระบบเปิด |
|
ถ้าเราปิดฝาขวดไว้ ก็ีจะมีเฉพาะการถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
เราเรียกระบบแบบนี้ ระบบปิด |
|
ถ้าเราทำฉนวนหุ้มกันความร้อนดีๆ เหมือนกระติกเก็บน้ำร้อน ก็จะ่มีการถ่ายเทมวลและพลังงานน้อยมาก
เราจึงถือว่าเป็น ระบบใกล้เคียง ระบบโดดเดี่ยว
(เพราะยังมีการถ่ายเทมวลและพลังงาน
แต่เกิดขึ้นน้อยมาก) |
|
นักเรียนพอที่จะยกตัวอย่างได้ไหมว่า
ระบบใดบ้างที่จัดเป็นระบบโดดเดี่ยวอย่างสมบูรณ์ ? |
|