จากกฎอัตรา เราสามารถบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยากับสภาวะต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมดหรือไม่?

     จากกฎอัตรา    rate    =     k [A]m[B]n   บอกได้แต่เพียงว่า การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดปฏิกิริยา แต่ค่าคงที่อัตราอาจเปลี่ยนแปลงไปได้เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปหรือมีการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา

     เราหาคำตอบว่า ค่าคงที่อัตราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่ออุณหภูมิและพลังงานก่อกัมมันต์(ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา)เปลี่ยนไป จากสมการนี้ไม่ได้เช่นกัน แต่มีสมการอยู่สมการหนึ่งที่สามารถบอกความสัมพันธ์ของสามตัวแปรนี้ได้ นั่นคือ สมการอาร์เรเนียส (Arrhenius equation)

         จากการสังเกต เราจะเห็นได้ว่า ค่าคงที่อัตราของปฏิกิริยาส่วนใหญ่จะเป็นไปตาม สมการของอาร์เรเนียส

        ถ้าเราเขียนสมการให้อยู่ในรูปลอกาลิทึมธรรมชาติ จะได้ว่า

         ถ้าเราเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ln k กับ 1/T จะได้กราฟเป็นเส้นตรง และมีค่าความชันเท่ากับ -Ea/R และมีจุดตัดแกน ln k ที่จุด ln k = ln A

เมื่อ A =   แฟกเตอร์ความถี่ (frequency factor) ซึ่งมีค่าคงที่ในช่วงอุณหภูมิที่กว้างพอสมควรสำหรับแต่ละปฏิกิริยา
  Ea =   พลังงานก่อกัมมันต์ (activation energy) ของปฏิกิริยา (kJ/mol)
  R =   ค่าคงที่ของแก๊ส (8.314 J/K.mol)
  T =   อุณหภูมิสัมบูรณ์ (หน่วย K)

          เราจะเรียกแฟกเตอร์ความถี่และพลังงานก่อกัมมันต์ ว่าเป็นพารามิเตอร์ของอาร์เรเนียส (Arrhenius parameter)

         จากความสัมพันธ์ระหว่างค่าคงที่อัตรา k1 กับอุณหภูมิ T1 และค่าคงที่อัตรา k2 กับอุณหภูมิ T2 เราก็สามารถคำนวณหาพลังงานก่อกัมมันต์ หรือคำนวณหาค่าคงที่อัตราที่อุณหภูมิอื่นเมื่อทราบค่าพลังงานก่อกัมมันต์ได้

          นำ ln k2 ไปลบออกจาก ln k1 จะได้ว่า

           สำหรับปฏิกิริยาง่ายๆ อาจถือว่าแฟกเตอร์ความถี่เท่ากับความถี่ของการชนระหว่างอนุภาคของสารตั้งต้น แต่สำหรับปฏิกิริยาซับซ้อนมากขึ้นเราจะต้องคำนึงถึงการจัดตัวของโมเลกุลขณะเข้าชนด้วย

           คราวนี้ลองมาพิสูจน์กันว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและใส่ตัวเร่งปฏิกิริยา (เกี่ยวข้องกับพลังงานก่อกัมมันต์) จะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาจริงหรือไม่

ตัวอย่าง ปฏิกิริยาหนึ่งมีพลังงานก่อกัมมันต์ 50,000 J/mol อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เมื่อ
                   ก) เพิ่มอุณหภูมิให้กับปฏิกิริยาจาก 25 oC เป็น 35 oC
                   ข) ที่อุณหภูมิ 25 oC ใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาลงไป ทำให้พลังงานก่อกัมมันต์ลดลงเหลือ 25,000 J/mol

ก) จาก


เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป 10 oC ค่า k เปลี่ยนไปมากกว่า 2 เท่า และส่งผลให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนไปประมาณ 2 เท่าด้วย

นักเรียนลองคิดเล่นๆ ดูนะว่า ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนจาก 1,000 oC เป็น 1,010 oC อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเปลี่ยนไป 2 เท่าด้วยหรือไม่

 

ข)  จาก

เมื่อไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยา
เมื่อมีตัวเร่งปฏิกิริยา
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองปฏิกิริยา จะได้ว่า
 
         จะเห็นได้ว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล มาถึงขั้นนี้แล้ว เราคงจะทราบแล้วว่า ในทางปฏิบัติ การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาจะมีผลทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นได้มากกว่าการเพิ่มอุณหภูมิอย่างมหาศาล