เราทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเร่งปฏิกิริยาทั้งปฏิกิริยาเอกพันธุ์และวิวิธพันธุ์ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ใช้ในการเตรียมสารผลิตภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือเป็นปฏิกิริยาที่เกิดภายนอกร่างกายของสิ่งมีชีวิตไปแล้ว
ถึงตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจการเร่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตกันบ้าง
ถ้าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกายของสิ่งมีชีวิตไม่มีเอนไซม์ช่วยเร่งปฏิกิริยาแล้ว
สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร ?
แน่นอนว่า ปฏิกิริยาต่างๆ เหล่านั้นอาจจะเกิดด้วยอัตราที่ช้ากว่าปกติ
106 ถึง 1012 เท่า เราจะได้สารอาหารหรือพลังงานเพียงพอที่จะใช้ในการดำรงชีวิตหรือไม่
เอนไซม์
(enzyme) คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ (biological catalyst) ที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพให้มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงขึ้นประมาณ
106 ถึง 1012 เท่า และเอนไซม์ยังมีความจำเพาะเจาะจงต่อปฏิกิริยาสูงมาก
คือ เอนไซม์จะเลือกทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของสารตั้งต้นหรือสับสเตรท
(substrate) บางชนิดเท่านั้น
บางทีเราอาจจะจัดว่า การเร่งปฏิกิริยาด้วยเอนไซม์เป็นการเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์
เพราะเอนไซม์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมจะถูกตรึง (immobilized) อยู่บนของแข็ง
เช่น ซิลิกาเจล และเอนไซม์ในสิ่งมีชีวิตจะเกาะอยู่กับโครงสร้างที่เป็นของแข็งในเซลล์
แบบจำลองแม่กุญแจ-ลูกกุญแจ
(lock-and-key theory)
เอนไซม์จะมีบริเวณเร่ง
(active site) ที่มีโครงสร้างเหมาะสมกับโครงสร้างโมเลกุลของสับสเตรท
เหมือนกับลูกกุญแจที่มีโครงสร้างเหมาะสมกับแม่กุญแจ จึงจะไขแม่กุญแจได้พอดี
ซึ่งเราเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีแม่กุญแจ-ลูกกุญแจ
(lock-and-key)
แต่แบบจำลองนี้ขัดแย้งกับการศึกษาต่อมาซึ่งแสดงให้เห็นว่า
เอนไซม์แต่ละชนิดอาจยึดกับสับสเตรทที่มีรูปร่างใกล้เคียงกันได้ เพราะเอนไซม์เป็นโปรตีนและมีความยืดหยุ่น
ไม่ได้มีโครงสร้างแข็งเหมือนลูกกุญแจ เอนไซม์จึงสามารถปรับรูปร่างให้จับกับสับสเตรทได้ดี
เราสามารถเขียนสมการแสดงกลไกอย่างง่ายในการทำงานของเอนไซม์ได้ดังนี้
เมื่อ
E คือ เอนไซม์ (enzyme)
S คือ
สับสเตรท (substrate)
P คือ
ผลิตภัณฑ์ (product)
ES
คือ สารมัธยันตร์เอนไซม์-สับสเตรท (enzyme-substrate intermediate)
ในการเกิด
ES และการสลายตัวของ ES กลับไปเป็นโมเลกุลของเอนไซม์และสับสเตรทนั้นเกิดขึ้นได้เร็วมาก
ส่วนการเกิดสารผลิตภัณฑ์ในขั้นที่สองนั้นจะเกิดได้ช้ากว่าจึงเป็นขั้นกำหนดอัตรา
การเปรียบเทียบระหว่าง
ก) ปฏิกิริยาที่ไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยา
ข) ปฏิกิริยาเดียวกันแต่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
โดยรูป ข) จะเป็นปฏิกิริยาที่มีกลไก 2 ขั้น และขั้นที่สอง (ES ------>
E + P) เป็นขั้นกำหนดอัตรา
โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่เร่งโดยเอนไซม์แบบนี้ได้จากสมการ
ความเข้มข้นของ ES
จะขึ้นอยู่กับปริมาณของสับสเตรท ดังแสดงในกราฟ
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดสารผลิตภัณฑ์กับความเข้มข้นของสับสเตรท ในปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
จากกราฟ
ในช่วงแรกอัตราจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสับสเตรทอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อความเข้มข้นเพิ่มขึ้นถึงค่าหนึ่ง
บริเวณเร่งของเอนไซม์ถูกใช้หมด ปฏิกิริยาก็จะกลายเป็นอันดับศูนย์เมื่อเทียบกับสับสเตรท
นั่นก็หมายความว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะคงที่ไม่ว่าความเข้มข้นของสับสเตรทจะเพิ่มขึ้นสูงเพียงใด
ดังนั้น เมื่อผ่านจุดนี้ไปแล้ว อัตราการเกิดผลิตภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับความเร็วในการแตกตัวของ
ES เท่านั้น ไม่ขึ้นกับจำนวนโมเลกุลของสับสเตรทที่มีอยู่