1. สมบัติของเหลว

           1.3 ความดันไอ (vapor pressure)

                พิจารณารูปต่อไปนี้ สมมติว่า ในภาชนะ ซึ่งเป็นหลอดแก้วปิด บรรจุของเหลวชนิดหนึ่ง

        โดยทั่วไป เมื่อของเหลวหนึ่งๆ บรรจุอยู่ใน ภาชนะเปิด เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่ง จะเห็นว่า ในที่สุดของเหลวนี้จะระเหยไปหมด ไม่มีของเหลวเหลืออยู่ แต่ถ้านำของเหลวไปบรรจุใน ภาชนะปิด โดยวางภาชนะนี้ไว้ในที่สภาวะเดียวกัน มีอุณหภูมิ และความดันเดียวกัน เมื่อทิ้งไว้ในระยะเวลาหนึ่งจะพบว่า มีไอซึ่งเกิดจากการระเหยปรากฏอยู่เหนือของเหลวนี้ ไอของโมเลกุลของเหลวที่อยู่เหนือของเหลวนี้จะวิ่งชนกับผนังของภาชนะ จึงทำให้เกิดความดัน เราเรียกว่า ความดันไอ (vapor pressure)

a)โมเลกุลของเหลวเริ่มระเหย

 

 

 

b)โมเลกุลของเหลว เริ่มระเหยมากขึ้น

 

 

 



c) มีการระเหยมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อม   กับมีการควบแน่นบางส่วนของโมเลกุล
 
  ------  เวลาเพิ่มขึ้น ------>    

        ในรูป a โมเลกุลจะเริ่มระเหยกลายเป็นไอ และในรูป b การระเหยจะมากขึ้น และในรูป c โมเลกุลของของเหลวระเหยมาก แต่ก็มีโมเลกุลของเหลวบางส่วนที่สามารถควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวได้ ถ้าอัตราการระเหยเท่ากับอัตราการควบแน่น จะเรียกว่า ของเหลวอยู่ในภาวะสมดุลกับไอ

        ลองพิจารณารูปต่อไปนี้

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับความดันไอของของเหลวชนิดต่างๆ

 

         ของเหลวแต่ละชนิดจะมีความดันไอไม่เท่ากัน โดยทั่วไป พบว่าถ้าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลน้อย ความดันไอของของเหลวจะมีค่าสูง เพราะโมเลกุลของของเหลวสามารถระเหยได้ง่าย ในทางตรงกันข้าม ถ้าของเหลวมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมาก ความดันไอของของเหลวก็จะมีค่าน้อย

         จากกราฟ ถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างความหนืดกับความดันไอ ผลที่ได้ ก็จะมีแนวโน้มเหมือนกับแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล พบว่า ถ้าความหนืดของของเหลวมาก ความดันไอจะต่ำ และในทางกลับกัน ถ้าความหนืดของของเหลวน้อย ความดันไอก็จะสูง

่         ดังนั้น จากกราฟ เราสามารถเรียงความดันไอลำดับของสารต่างๆ ได้ดังนี้

diethyl ether > ethyl alcohol > water > ethylene glycol

         หรือในทางตรงกันข้าม ถ้าเรียงลำดับความหนืดของของเหลว จะเป็น

ethylene glycol > water > ethyl alcohol > diethyl ether ตามลำดับ