การค้นหาทาว                  

                     ในปี ค.ศ. 1973 ทีมนักวิจัยที่ศูนย์ Stanford Linear Accelerator Center( SLAC) ประเทศสหรัฐอเมริกา.   ได้ใช้เครื่องเร่งอนุภาคที่เรียกว่า Stanford Positron-Electron Asymmetric Rings ( SPEAR) เร่งให้ อิเล็กตรอนและโพสิตรอนพลังงานสูงเข้าชนกันแล้วตรวจ หาอนุภาคที่เกิดขึ้นหลังการชนด้วยเครื่องตรวจหาที่เรียกว่า " มาร์คหนึ่ง " ( The Mark I detector)
ก่อนการทดลองจริงทีมนักวิจัยคาดว่า : ผลการชนกันของอิเล็กตรอนและโพสิตรอนพลังงานสูง
มาก ๆ นี้ จะต้องเกิด เป็นอนุภาคใหม่.   และพวกเขาตั้งชื่อว่า ทาว ( tau : )ซึ่งเป็นตัวอักษรใน
ภาษากรีก. โดยคาดว่าในการชนกันจะเกิด อันตรกิริยาดังนี้ 

           จากนั้นพวกเขาได้เริ่มทำการทดลองโดยใช้พลังงานสูงถึง 4.8 GeV.   ในการเร่งอิเล็กตรอน
และโพสิตรอนให้มีความเร็วสูงไปตามท่อที่อยู่ของลำอนุภาค (Beam Pipe).   แล้วพุ่งเข้าชนกันใน
เครื่องตรวจหามาร์คหนึ่ง. จากการศึกษาร่อง รอย (track)  ที่เกิดขึ้นและการเบนในสนามแม่เหล็ก
พบว่า :    อนุภาคที่ตรวจจับได้คืออิเล็กตรอน , มิวออนบวก และพลังงานจำนวนหนึ่ง.  ซึ่งจะเห็น
ว่าผลที่เกิดขึ้นนี้ไม่สอดคล้องกับการทำนายก่อนการทดลองและอนุภาคที่ตรวจจับได้นี้ยังขัดกับ
แนวคิดเกี่ยวกับการชนกันของอนุภาคที่มีมวลและความเร็วเท่ากันสองอนุภาค.     ที่กล่าวว่า หลังการชนกันจะต้องเกิดพลังงานหรือมวลที่แยกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ  กันอยู่ในวงศ์เดียวกัน
ของเลปตอน.แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์เสนอแนวความคิดว่า :    ก่อนที่จะมาเป็นอิเล็กตรอนกับ
มิวออนบวกนั้น.แท้จริงแล้วเกิดเป็นทาวบวก และ ทาวลบ มาก่อน.     แต่สองตัวนี้มีครึ่งชีวิตสั้น
มากๆ อยู่ในช่วง 10-13วินาทีจึงไม่สามารถตรวจจับได้. โดยทั้งสองอนุภาคนี้เมื่อสลายตัวแล้วจะ
ให้อิเล็กตรอนและะมิวออนบวกออกมาพร้อมกับนิวตริโน.  และที่สำคัญผลจากการคำนวณเลขรส
ของเลปตอนตามแนวคิดนี้พบว่า : มีความสมดุลของเลขรสของเลปตอน มวล และ พลังงานทั้ง
ก่อนและหลังการชนกัน.   จึงทำให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่ามีอนุภาคทาวอยู่จริง.  ซึ่งทาวมีมวล
นิ่ง(rest  mass)    1,777 MeV/c2   ซึ่งมากกว่าอิเล็กตรอนถึง 3500  เท่าและมีครึ่งชีวิต   2.96x10-13
วินาที.  เขียนเป็นแผนภาพไฟยน์แมน (Feynman's diagram ) แสดงการเกิดทาวได้ดังนี้.