คุณคิดว่า ปัจจัยใดบ้างที่สามารถส่งผลให้การชั่งน้ำหนักผิดพลาดได้?

      การชั่งน้ำหนักอาจเกิดการคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดได้ ยกตัวอย่างเช่น การชั่งวัตถุ 3 ครั้ง แต่น้ำหนักที่ได้จากทั้ง 3 กลับไม่เท่ากันหรือคลาดเคลื่อนไปบ้าง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการ
คลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดเกิดจากหลายสาเหตุ  ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้การชั่งน้ำหนักผิดพลาดได้แก่ ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานไม่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของวัตถุ และแรงกระทำจาก
ภายนอก
   

      เราต้องคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้เสมอเมื่อทำการชั่งน้ำหนัก

1. ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานไม่ถูกต้อง

     สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนอาจเกิดจากการใช้ตุ้มน้ำหนักคุณภาพต่ำ ตุ้มน้ำหนักสกปรก หรือตุ้มน้ำหนักที่ถูกกัดกร่อน

 

2. น้ำหนักของสารอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจาก

      2.1 มีความชื้นปนอยู่ โดยในขณะที่ทำการชั่งนั้น ความชื้นก็จะระเหยออกมา ทำให้น้ำหนักที่แสดงไม่คงที่และน้อยลงเรื่อยๆ การจำกัดความชื้นทำได้โดยการนำวัตถุนั้นไปอบให้แห้ง เก็บไว้ในโถดูดความชื้น (desiccator) จนหายร้อนแล้วจึงนำมาชั่ง

      2.2 มีสิ่งสกปรกเจือปนในสาร ซึ่งอาจเกิดจากการใช้สารเคมีที่สกปรกหรือเสื่อมสภาพ หรือการใช้ช้อนตักสารหรือจานชั่งที่สกปรก ก็เป็นได้

 

3. แรงจากภายนอก ซึ่งแรงที่สามารถทำให้การชั่งน้ำหนักคลาดเคลื่อนได้ มีดังนี้

3.1  
แรงยกตัวของอากาศ (air buoyancy) เนื่องจากอากาศมีความหนาแน่นประมาณ 1.2 g/mL ที่ 20 oC อากาศจึงสามารถที่จะเกิดแรงต้านต่อวัตถุได้ ซึ่งแรงต้านจะมีมากเมื่อวัตถุมีปริมาตรมากและความหนาแน่นต่ำ การแก้ไขทำได้โดยการบวกน้ำหนักที่ชั่งได้กับน้ำหนักที่เกิดจากผลคูณระหว่างเลข 1.2 กับปริมาตรของอากาศที่ถูกแทนที่ (เท่ากับปริมาตรของวัตถุ)
3.2  

ลมที่เกิดวัตถุที่นำมาชั่งนั้นร้อน ความร้อนจากวัตถุที่ชั่งอาจจะส่งผลให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสูง และอากาศที่เย็นกว่าจะไหลเข้ามาแทนที่ กระแสของอากาศเย็นจะดันวัตถุขึ้น ทำให้ชั่งวัตถุได้น้อยกว่าค่าจริง

 

3.3  
แรงดูดหรือแรงผลักระหว่างประจุ เกิดขึ้นเมื่อวัตถุ อุปกรณ์ หรืออากาศมีประจุไฟฟ้า ถ้าประจุเหมือนกันจะมีแรงผลักกัน แต่ถ้าประจุต่างกันจะดูดกัน ดังนั้น ผลของประจุไฟฟ้าจึงทำให้ชั่งน้ำหนักได้น้อยหรือมากกว่าน้ำหนักจริง
3.4  

แรงหนีศูนย์กลาง การหมุนของโลกทำให้วัตถุเกิดแรงหนีศูนย์กลาง (Fc) ถ้ามีแรงหนีศูนย์กลางมากจะทำให้ชั่งน้ำหนักวัตถุได้ต่ำกว่าค่าจริง

 

3.5  
แรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ดวงอื่น แรงที่กระทำต่อวัตถุบนพื้นโลกจะมีการแปรผันตามเวลา (chronological variation) เพราะแรงดึงดูดขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างวัตถุกับดาวเคราะห์เหล่านั้น ซึ่งไม่คงที่ เนื่องจากมีการโคจรและมีการหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา เช่น แรงดึงดูดของดวงจันทร์ที่มีต่อวัตถุ (Fm)