ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานเป็นมวลมาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบหามวลหรือน้ำหนักของวัตถุต่างๆ ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานชุดแรกที่ผลิตขึ้นถูกเก็บไว้ที่ International Bureau of Weight and Measure ที่กรุงปารีส ส่วนตุ้มน้ำหนักมาตรฐานจำลองจะถูกเก็บไว้ที่ National Bureau of Standard (NBS) ที่กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับตุ้มน้ำหนักมาตรฐานที่ถูกผลิตออกมาจำหน่าย

           ปัจจุบันนี้มีตุ้มน้ำหนักมาตรฐานหลายรูปแบบ ซึ่งพบทั้งแบบที่เป็นแท่งทรงกระบอก รูปหกเหลี่ยม แผ่นวงกลม และแผ่นสี่เหลี่ยม ซึ่งอาจทำมาจากทองเหลือง ทองเหลืองเคลือบแแลคเกอร์ (lacqured brass) เหล็กกล้าไร้สนิม(stainless steel) พลาสติก หรือเหล็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาและคุณภาพของตุ้มน้ำหนักมาตรฐานนั่นเอง


ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานเหล็กกล้าไร้สนิมแบบสกรู (stainless steel screw knob balance weight)

ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานแบบแขวน
(hanging balance weight)

ชุดตุ้มน้ำหนักมาตรฐานสำหรับการตรวจสอบ
(test balance weight set)

 

           ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานแบ่งออกเป็นหลายชนิด (class) ตามความถูกต้องของน้ำหนัก โดยเรียงจากชนิดที่มีความถูกต้องจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้

J > M > S > S-1 > P > Q > T

           สำหรับงานที่เราทำการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการนั้นความถูกต้องมาก จึงควรใช้ตุ้มน้ำหนักชนิด S ซึ่งมีความถูกต้องเพียงพอ ส่วนงานที่ไม่ต้องการความถูกต้องมากนักอาจจะใช้ลูกตุ้มชนิดต่ำกว่า S ก็้เพียงพอแล้ว ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับความหมายของสัญลักษณ์ของตุ้มน้ำหนักตั้งแต่ชนิด S ถึง Q ซึ่งเป็นตุ้มน้ำหนักที่เราต้องใช้งานกันดีกว่านะครับ

 

NBS ได้กำหนดช่วงความผิดพลาดที่ยอมรับได้ของตุ้มน้ำหนักมาตรฐานไว้ดังนี้

น้ำหนัก (g)
ความผิดพลาด
S
S - 1
P
Q
0.010
0.014
0.030
0.060
0.10
0.020
0.014
0.035
0.070
0.12
0.050
0.014
0.042
0.085
0.16
0.100
0.025
0.050
0.100
0.20
0.200
0.025
0.060
0.120
0.26
0.500
0.025
0.080
0.160
0.38
1.000
0.054
0.100
0.200
0.50
2.000
0.054
0.130
0.260
0.75
5.000
0.054
0.180
0.360
1.30
10.000
0.074
0.250
0.500
2.00
20.000
0.074
0.350
0.700
3.00
50.000
0.120
0.600
1.200
5.60
100.000
0.250
1.000
2.000
9.00