ความหมาย
ขวดวัดปริมาตร เป็นขวดแก้วคอยาว
มีขีดแสดงปริมาตรกำกับอยู่รอบคอขวดเพียงขีดเดียว และมีจุกปิดด้านบน เพื่อใช้ปิดเวลาเขย่าสารให้เข้ากัน
ขวดวัดปริมาตร ใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอน
รวมทั้งใช้เจือจางสารให้ได้ความเข้มข้นและปริมาตรที่ต้องการ
ขนาดที่ใช้
ความจุที่ใช้ ได้แก่ 50 ml, 100 ml, 250 ml, 500 ml, 1,000 ml, 2,000 ml เป็นต้น
ความผิดพลาดขึ้นอยู่กับความจุของขวดวัดปริมาตรและระดับคุณภาพ
ความจุ
(ml) |
ระดับชั้นคุณภาพ
A (±ml) |
ระดับชั้นคุณภาพ
B (±ml) |
50 |
0.05 |
0.10 |
100 |
0.08 |
0.16 |
250 |
0.12 |
0.24 |
500 |
0.20 |
0.40 |
1,000 |
0.30 |
0.60 |
2,000 |
0.50 |
1.00 |
ข้อมูลจาก:
Annual Book of ASTM standards, E288-97, Standard Specification for Laboratory
Glass Volumetric Flasks, 14, 04, 1998.
ขวดวัดปริมาตรที่มีความจุมากมีความผิดพลาดมากกว่าขวดวัดปริมาตรที่มีความจุน้อย
ขวดวัดปริมาตรระดับชั้นคุณภาพ B มีความผิดพลาดมากกว่าระดับชั้นคุณภาพ A ถึง 2 เท่า
ดังนั้นในการทดลองที่ต้องการความแม่นยำสูง จึงควรเลือกใช้ขวดวัดปริมาตรระดับชั้นคุณภาพ
A
ประเภท
ส่วนประกอบ
A
คืออะไร
In =
?
20
oC บอกอะไร
ขั้นตอนการใช้งาน
ข้อควรระวัง
-
ขณะทำการทดลอง ควรจับที่คอขวดวัดปริมาตร อย่าจับที่ตัวขวดวัดปริมาตรเพราะจะทำให้สารละลายอุ่นขึ้น
เนื่องจากความร้อนจากมือ
- เมื่อปล่อยสารละลายออกจากบิวเรตต์จนสารละลายลดลงถึงขีดบอกปริมาตรสุดท้ายของบิวเรตต์นั้น
ๆ ต้องรีบปิดบิวเรตต์ทันที หากปล่อยให้สารละลายเลยขีดบอกปริมาตรสุดท้ายลงมา
จะไม่ทราบปริมาตรที่แน่นอนของสารละลายที่ผ่านบิวเรตต์ลงมา