หลักการทำความสะอาดเครื่องแก้ว

     เครื่องแก้วที่ใช้ในการทดลองต้องทำความสะอาดเครื่องแก้วนั้นทันที หลังจากนำไปใช้งานแล้ว เพื่อให้เครื่องแก้วแห้งก่อนที่จะนำไปใช้งานในครั้งต่อไป และต้องล้างให้สะอาดเสมอ มิฉะนั้นจะทำให้ผลการทดลองผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไปจากความจริงได้

      หลักทั่วๆ ไปของการล้างเครื่องแก้วมีดังนี้

          1. นำสารละลายที่อยู่ภายในเครื่องแก้วออกทิ้งให้หมด ตามวิธีทิ้งสารที่ถูกต้อง

          2. ดึงป้ายหรือฉลากที่ติดออก

          3. ล้างด้วยแปรงโดยใช้สบู่หรือสารซักฟอกหรือสารละลายทำความสะอาด

          4. ล้างด้วยน้ำสะอาด เพื่อล้างสบู่ สารซักฟอกหรือสารละลายทำความสะอาดออกให้หมด

          5. ล้างด้วยน้ำกลั่นอีก 1 - 2 ครั้ง ถ้าเครื่องแก้วนั้นสะอาดจะสังเกตเห็นน้ำที่พื้นผิวเครื่องแก้วเปียกสม่ำเสมอเป็นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเครื่องแก้วยังไม่สะอาด จะสังเกตเห็นหยดน้ำมาเกาะข้างเครื่องแก้วนั้น

          6. ทำให้แห้ง ซึ่งวิธีการทำให้เครื่องแก้วแห้งมีหลายวิธี เช่น
               1. ทำให้แห้งบนราวสำหรับวางเครื่องแก้ว เป็นการทำเครื่องแก้วให้แห้งโดยตั้งทิ้งไว้ในอากาศบนราว
               2. ทำให้แห้งในเตาอบ การทำเครื่องแก้วให้แห้งด้วยเตาอบจะเร็วกว่าการปล่อยให้แห้งเองในอากาศ
               3. ทำให้แห้งโดยใช้เปลวไฟจากตะเกียงบุนเสน โดยนำอุปกรณ์เครื่องแก้วนั้นมาให้ความร้อนเบาๆ โดยใช้เปลวไฟจากตะเกียงบุนเสน จะทำให้เครื่องแก้วแห้งเร็วขึ้น
               4. ทำให้แห้งด้วยแอซีโตน (acetone) เครื่องแก้วที่เปียกน้ำจะแห้งเร็วขึ้นเมื่อล้างด้วยแอซีโตนเพียงเล็กน้อย เพราะแอซีโตนระเหยง่ายจะช่วยดึงอากาศให้ผ่านเข้ามาในเครื่องแก้ว ทำให้เครื่องแก้วแห้งเร็วขึ้น

Reference

     -Skoog, D.A, West, D.M Holler, F.J Crouch, S.R. Fundamentals of Analytical Chemistry
8th edition America 2004 Brooks/Cole

     -ประเสริฐ ศรีไพโรจน์. เทคนิคทางเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 3. ประกายพรึก, กรุงเทพฯ, 2538
     -Kenner C.T. Laboratory Directions for Analytival Separations and Determinations: A manual for Quantitative Analysis.America,1971 Colleier-Macmillan Limited.London

     -Shugar, R.J, Shugar, R.A, Bauman, L, Bauman, R.S, Chemical Technicians' ready reference handbook. 2nd edition Mcgraw-Hill 1981

     -อุมาพร สุขม่วง. ความสำคัญของเครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลวในห้องปฏิบัติการ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 46, 148.

     -Hey, D.H. Kingzett's chemical encyclopedia. 9th edition. Wiliam cloves and sons Ltd. New York, 1966.

     -Grolier incorporate. The book of popular science. volume 3. Grolier incorporate, america, 1969.

Annual Book of ASTM standards, Vol 14.04, 2004.
     - E-524
     

นิสากร ปานประสงค์. เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์:เพื่อนคู่ใจในห้องปฏิบัติการ. วารสาร Update.พฤษภาคม 2544

http://www.labdepotinc.com/category_details.aspx?id=50

http://www.school.net.th/library/snet5/exper.html

http://nbschoolscitool.tripod.com/part1.htm