การเทียบมาตรฐาน (calibration) อุปกรณ์วัดปริมาตรด้วยตนเอง
หลักการทั่วไป เราสามารถเทียบมาตรฐานเครื่องแก้ววัดปริมาตร ได้โดยชั่งน้ำหนักของของเหลว (น้ำกลั่น) ที่บรรจุในเครื่งแก้วนั้น
วิธีทำ
- ปิเปตต์
- ชั่งน้ำหนักกระบอกตวง กด tare ถ่ายเทน้ำกลั่น 1 ml จากปิเปตต์ไปยังกระบอกตวง ชั่งน้ำหนัก บันทึกน้ำหนัก
- ถ้าชั่งน้ำกลั่น 1 ml ได้น้ำหนัก 1.000 กรัม แสดงว่าปิเปตต์มีมาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก
- บิวเรตต์
- เติมน้ำในบิวเรตต์ (ระวังอย่าให้มีฟองอากาศในบิวเรตต์และปลายบิวเรตต์) ชั่งน้ำหนักขวดรูปชมพู่ 125 ml กด tare ถ่ายเทน้ำกลั่น 10 ml จากบิวเรตต์ไปยังขวดรูปชมพู่ ชั่งน้ำหนัก บันทึกน้ำหนัก
- ถ้าชั่งน้ำกลั่น 10 ml ได้น้ำหนัก 10.000 กรัม แสดงว่าบิวเรตต์มีมาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก
- ขวดวัดปริมาตร
-
ชั่งน้ำหนักขวดวัดปริมาตร 100 ml
กด tare บรรจุน้ำกลั่นจนถึงขีดบอกปริมาตร
ชั่งน้ำหนัก
บันทึกน้ำหนัก
-
ถ้าชั่งน้ำกลั่น 100 ml ได้น้ำหนัก 100.000 กรัม แสดงว่าขวดวัดปริมาตรมีมาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก
สรุปผลการทดลอง
- ถ้าน้ำหนักน้ำกลั่นที่ชั่งได้เท่ากับปริมาตรของน้ำกลั่นที่บรรจุในเครื่องแก้ววัดปริมาตรนั้น แสดงว่าเครื่องแก้ววัดปริมาตรมีมาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก
- แต่ถ้าชั่งน้ำกลั่น 1 ml ไม่ได้น้ำหนัก 1.000 กรัม แสดงว่าเครื่องแก้ววัดปริมาตรไม่ได้มาตรฐาน เราต้องคำนวณความคลาดเคลื่อนด้วยวิธีการเปรียบเทียบผลการทดลองกับผลการทดลองที่ได้มาตรฐาน
ตาราง ปริมาตรน้ำ 1 กรัมชั่งในอากาศเทียบกับน้ำหนักของเหล็กกล้าไร้สนิม (stainless steel)
อุณหภูมิ
T oC |
ปริมาตร
ml/g |
|
ที่อุณหภูมิ |
ที่
20 oC |
|
19 |
1.0026 |
1.0026 |
20 |
1.0028 |
1.0028 |
21 |
1.0030 |
1.0030 |
22 |
1.0033 |
1.0032 |
23 |
1.0035 |
1.0034 |
24 |
1.0037 |
1.0036 |
25 |
1.0040 |
1.0037 |
26 |
1.0043 |
1.0041 |
ปริมาตร
= น้ำหนักที่ชั่งได้ X
ปริมาตรที่อุณหภูมินั้น(จากตาราง) |
ตัวอย่าง จงคำนวณปริมาตรที่ถ่ายเทจากปิเปตต์ 25 ml ถ้าชั่งน้ำหนักของน้ำกลั่นได้ 24.976 กรัม ที่ 25 oC
วิธีทำ ปริมาตร = น้ำหนักที่ชั่งได้ X ปริมาตรที่อุณหภูมินั้น
ปริมาตร = 24.976 g X 1.0040 ml/g
ปริมาตร = 25.08 ml
ดังนั้น ที่ 25 oC ปิเปตต์ 25 ml ปิเปตต์สารละลายปริมาตร 25.08 ml
ลองทำดู
จงคำนวณปริมาตรที่ถ่ายเทจากปิเปตต์
10 ml ถ้าชั่งน้ำหนักของน้ำกลั่นได้ 10.090 กรัม ที่ 20 oC
ลากเมาส์เพื่อดูคำตอบค่ะ
ตอบ 10.12 ml