|
|||||||||||||
การแสดงออกของยีนเพื่อสร้างโปรตีนแต่ละชนิดจะเกิดขึ้นในเวลาและปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับบทบาทและหน้าที่ของโปรตีนชนิดนั้นๆ โปรตีนที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเซลล์จะมีการผลิตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการแสดงออกของยีนเพื่อสร้างหรือผลิตโปรตีนเหล่านี้จะเรียกว่า "constitutive gene expression" เช่น การแสดงออกของยีนเพื่อผลิตเอนไซม์ในวิถีไกลโคไลซิส และวัฎจักรเครปส์ และเรียกยีนของโปรตีนเหล่านี้ว่า "house keeping gene" ส่วนโปรตีนอีกจำพวกหนึ่งจะถูกสังเคราะห์ขึ้นก็ต่อเมื่อเซลล์มีความจำเป็นต้องใช้ หรือถูกเหนี่ยวนำให้สร้างขึ้นในบางสภาวะเท่านั้น เรียกโปรตีนเหล่านี้ว่า "inducible protein" เช่น กลุ่มเอนไซม์ที่ใช้ในการซ่อมแซม DNA จะถูกเหนี่ยวนำให้สร้างขึ้นก็ต่อเมื่อ DNA ถูกทำลาย ในทำนองกลับกัน จะมีโปรตีนอีกจำพวกหนึ่งถูกสร้างน้อยลงเมื่อเซลล์ไม่จำเป็นต้องใช้ เช่น กลุ่มเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนทริปโตเฟนในแบคทีเรีย จะถูกลดการสร้างลงเมื่อเซลล์มีปริมาณทริปโตเฟนเพียงพอ เรียกโปรตีนเหล่านี้ว่า "repressible protein" กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการแสดงออกของยีน จะมีผลโดยตรงต่อปริมาณโปรตีนที่เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายทั้งสิ้น การควบคุมการแสดงออกของยีน จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการกระตุ้นหรือยับยั้งการสังเคราะห์ RNA และโปรตีนของยีนนั้นๆ (หากยีนนั้นมีไว้สำหรับสร้างโปรตีน) โดยอาศัยการเหนี่ยวนำให้เอนไซม์ทำงานด้วยตัวเหนี่ยวนำ (inducer) หรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ด้วยตัวกดดัน (repressor) ซึ่งสามารถควบคุมได้ในขั้นตอนการลอกแบบ (transcription) และการแปลรหัส (translation) (ภาพที่ 3.25) |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
ภาพที่ 3.25 การควบคุมการแสดงออกของยีนในขั้นต่างๆ
|
|||||||||||||
|
|||||||||||||
![]() |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
โปรคาริโอตมีพันธุกรรมที่ไม่ซับซ้อน กระบวนการสังเคราะห์ RNA และโปรตีนเกิดขึ้นในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ดังนั้นการควบคุมการผลิตโปรตีนในเซลล์โปรคาริโอตจึงเป็นระบบ 'เปิด-ปิด' ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเปลี่ยนกลับไป-มาได้ง่ายในเวลาสั้นๆ ดังนั้นการควบคุมการแสดงออกของยีนในโปรคาริโอตจะเกิดในขั้นคัดลอก (transcription) ในโปรคาริโอต ยีนของโปรคาริโอตสำหรับสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องในวิถีเมทาบอลิซึมเดียวกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ติดกันเป็นชุดและอยู่ภายใต้ตัวควบคุมชุดเดียวกัน รวมเรียกว่าโอเปอรอน (operon) ซึ่ง แบ่งเป็นยีนควบคุม (regulator gene) ยีนส่งเสริม (promoter gene) ยีนดำเนินการ (operator gene) และยีนโครงสร้าง (structural gene) สำหรับสร้างโปรตีนหรือเอนไซม์ (ภาพที่ 3.26)
|
|||||||||||||
|
|||||||||||||
ภาพที่ 3.26 โครงสร้างของโอเปอรอน |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
|
|||||||||||||
การควบคุมการแสดงออกของยีนในยูคาริโอตจะซับซ้อนกว่าในโปรคาริโอตมาก เนื่องจากจีโนมของยูคาริโอตมียีนมากกว่าในโปรคาริโอตมาก ยีนทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำงานพร้อมกัน ซึ่งยีนแต่ละยีนนั้นจะมีการแสดงออกแตกต่างกันตามเวลาและสภาวะของเซลล์ นอกจากนี้การที่เซลล์ยูคาริโอตมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จึงทำให้กระบวนการถอดรหัสเกิดในนิวเคลียส และกระบวนการแปลรหัสเกิดในไซโตพลาสซึมแยกจากกันเด็ดขาด มิได้เกิดต่อเนื่องกันอย่างในโปรคาริโอต ลักษณะที่แตกต่างระหว่างพันธุกรรมของยูคาริโอต และโปรคาริโอตที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ยีนของยูคาริโอตจะอยู่แยกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่าเอกซอน (exon) ซึ่งต้องมีกระบวนการตัดอินทรอน (intron) ออกและเชื่อมเอกซอนเข้าด้วยกัน ด้วยกลไกพื้นฐานที่แตกต่างกันมากระหว่างยูคาริโอต และโปรคาริโอต จึงทำให้การควบคุมการแสดงออกของยีนในยูคาริโอตมีความยุ่งยาก และแตกต่างจากโปรคาริโอต ซึ่งในยูคาริโอตมีการควบคุมการแสดงออกของยีน ทั้งในขั้นถอดรหัสและแปลรหัส การควบคุมในขั้นคัดลอก (transcription) การควบคุมการแสดงออกของยีนในยูคาริโอตในขั้นการคัดลอก ได้แก่ การเติมหมู่เมทิล เข้าที่เบสไซโตซีน (cytosine, C) ของดีเอนเอ โดยเอนไซม์ DNA metyltransferase (DNA MTase) กระบวนการเติมหมู่เมทิลเข้าที่เบสของดีเอนเอนี้เรียกว่า DNA metylation บริเวณที่มีเบส CG จำนวนมาก และอยู่ตอนต้นของยีนโครงสร้าง มักจะถูกเติมหมู่เมทิล (ภาพที่ 3.29) ซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ RNA กล่าวคือ หากเบสไซโตซีนในบริเวณดังกล่าวของยีนใดถูกเติมหมู่เมทิล ยีนนั้นจะไม่ทำงานหรือไม่แสดงออก (ภาพที่ 3.30) ภาพที่ 3.29 การเติมหมู่เมทิลเข้าที่เบสไซโตซีน
ภาพที่ 3.30 ดีเอนเอที่มีหมู่เมทิล (บน) และดีเอนเอที่ไม่มีหมู่เมทิล (ล่าง)
ความสัมพันธ์ของการเติมหมู่เมทิลของเบสไซโทซีนกับการควบคุมการแสดงออกของยีน ได้รับการพิสูจน์จากการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งของต่อมใต้สมองของหนูพบว่า ไซโทซีนในยีนของเซลล์ที่สามารถสร้างฮอร์โมนโพรแลกทิน (prolactin) ไม่มีหมู่เมทิล ในขณะที่ ไซโทซีนจำนวนมากในยีนของเซลล์ที่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนโพรแลกทินมีหมู่เมทิล กระบวนการเติมหมู่เมทิลให้กับเบสไซโตซีนในสายดีเอนเอนี้ นอกจะทำให้ยีนนั้นไม่แสดงออกแล้ว ยังพบว่ามีบทบาทสำคัญต่อ gene imprinting ซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นในกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยโครโมโซม X ตัวที่ไม่ทำงาน (inactive X) จะมีการเติมหมู่เมทิล โดยเชื่อกันว่ากระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่จำเป็นในการเจริญเติบโต (development) ของตัวอ่อน การควบคุมในขั้นแปลรหัส (translation) การควบคุมการแสดงออกของยีนในระดับการแปลรหัสเกิดขึ้นได้หลายขั้นตอน ขึ้นอยู่กับ 'สัญญาณ' ที่เป็นตัวเริ่มกระบวนการ เช่น เซลล์ไข่เมื่อยังไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะมี mRNA อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ mRNA เหล่านี้ไม่ถูกนำไปสังเคราะห์เป็นโปรตีน แต่เพียงไม่กี่นาทีหลังการผสมพันธุ์ จะมีการสังเคราะห์โปรตีนจำนวนมากจาก mRNA เหล่านี้ การที่ mRNA เหล่านี้ไม่ถูกนำไปสังเคราะห์เป็นโปรตีนก่อนการผสมพันธุ์นั้น เนื่องจาก mRNA เหล่านั้นจับกับโปรตีนบางชนิด ซึ่งปกปิดหรือซ่อน mRNA เหล่านี้ไว้ กลไกการควบคุมการแสดงออกของยีน อาจใช้ตัวกดดันคือโปรตีนรีเพรสเซอร์ (repressor protein) โดยเมื่อจับกับ mRNA แล้วจะยับยั้งการแปลรหัสได้ ตัวอย่างเช่น การยับยั้งการแปลรหัสของเฟอริติน (ferritin) โดย iron repressive mRNA binding protein ซึ่งจะตอบสนองต่อเหล็ก โดยเมื่อมีเหล็กปริมาณน้อย โปรตีนนี้จะสามารถยับยั้งการแปลรหัสได้ การแสดงออกของยีนในยูคาริโอต นอกจากจะถูกควบคุมโดยโปรตีนแล้ว ในปัจจุบันพบว่า มี RNA บางชนิดสามารถควบคุมการแสดงออกของยีนได้เช่นกัน เช่น siRNA, shRNA และ miRNA โดย RNA เหล่านี้จะทำให้ mRNA ไม่ถูกแปลรหัสออกมาเป็นโปรตีน siRNA (small interference RNA) เกิดจาก RNA เกลียวคู่ (dsRNA, double strand RNA) ที่มีความยาวมากกว่า 30 นิวคลีโอไทด์ ถูกตัดด้วย dicer ทำให้ได้ siRNA ซึ่งมี 21-23 คู่นิวคลีโอไทด์ และตรงบริเวณปลาย 3' ของ RNA แต่ละสายจะมีมีเบส 2 ตัวยื่นออกมา siRNA จะมีความจำเพาะกับ mRNA เป้าหมาย สามารถทำให้ยีนบน mRNA เป้าหมายไม่สามารถแสดงออกได้ โดย siRNA จะจับกับโปรตีนได้เป็น RNA-Protein complex ที่มีชื่อว่า RISC (RNA induce silencing complex) เมื่อมีการจับตัวกันเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนแบบนี้แล้ว siRNA จะคลายเกลียว ทำให้สามารถจับกับ mRNA เป้าหมายได้ โดยเป็นการจับกันระหว่างเบสในสาย mRNA และ siRNA ที่เป็นคู่สมกัน หลังจากนั้นสายของ mRNA เป้าหมายนี้ก็จะถูกตัดโดย RISC ซึ่งมีเอนไซม์นิวคลีเอส (nuclease) เป็นตัวทำหน้าที่ในการตัด (ภาพที่ 3.31) ภาพที่ 3.31กลไกควบคุมการแสดงออกของยีนโดย siRNA (small interfering RNA)
shRNA (short hairpin RNA) มีโครงสร้างเป็น stem-loop มีประมาณ 25-29 นิวคลีโอไทด์ ตรงปลาย 3 จะมีเบสยูราซิล 2 ตัวยื่นออกมา (3 overhang) นิวคลีโอไทด์ที่อยู่ตรง loop นี้ จะถูกตัดออกภายหลัง ทำให้เหลือประมาณ 21 นิวคลีโอไทด์ซึ่งมีโครงสร้างเหมือนกับ siRNA ดังนั้นมันจึงมีความสามารถในการยับยั้งการแสดงออกของยีนในยูคาริโอตได้เช่นเดียวกับ siRNA (ภาพที่ 3.32)
ภาพที่ 3.32 ตัวอย่าง small hairpin RNA (shRNA) |
|||||||||||||
. miRNA (micro RNA) เป็น RNA สายเดี่ยวเส้นสั้นๆ ที่มี 19 - 23 นิวคลีโอไทด์ ถูกถอดรหัสออกมาเป็นส่วนหนึ่งของสาย RNA ที่มี 100 นิวคลีโอไทด์ หลังจากนั้นจะฟอร์มรูปร่างเป็น hiarpin ภายในนิวเคลียส แล้วถูกส่งออกสู่ไซโตพลาสซึม หลังจากนั้นมันจะถูกตัดด้วย dicer ได้เป็น RNA สายเดี่ยวหรือ miRNA นั่นเอง ซึ่ง miRNA มีบทบาทในการควบคุมการแสดงออกของยีนในยูคาริโอตเช่นเดียวกับ siRNA และ shRNA แต่จะมีกลไกไกที่แตกต่างกันคือ miRNA จะไม่ทำลายสายของ mRNA เป้าหมาย แต่มันจะจับกับ mRNA เป้าหมาย ทำให้การแปลรหัสถูกยับยั้ง ดังนั้นการสร้างโปรตีนจึงไม่เกิดขึ้น (ภาพที่ 3.33) ภาพที่ 3.33 กลไกการควบคุมการแสดงออกของยีนโดย miRNA (micro RNA)
นอกเหนือจากการค้นพบ small interference RNA ตัวเล็กๆ หรือ siRNA short hairpin RNA (shRNA) และ micro RNA (miRNA) ดังกล่าวแล้ว ในระยะหลังยังพบอาร์เอ็นเอทั้งเล็กและใหญ่ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนเลย คือไม่ใช่ mRNA tRNA หรือ mRNA แต่ทำหน้าที่ที่เกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของยีนและการทำงานของ mRNA ที่น่าทึ่งกว่านี้คือ อาร์เอ็นเอเหล่านี้มีความหลากหลายและมีปริมาณในส่วนต่างๆ ของเซลล์มากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคิด ตัวอย่างเช่น scnRNA tasiRNA natsiRNA และ piRNA ต่างทำหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเซลล์ XIST RNA ทำงานโดยปิดการทำงานของโครโมโซม PINC RNA เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ขณะนี้มีการคาดคะเนว่ายีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีนอาจจะมีจำนวนน้อยกว่ายีนที่ถูกคัดลอกไปเป็นอาร์เอ็นเอที่ไม่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีนโดยตรง เช่น ในคนอาจมียีนสำหรับอาร์เอ็นเออื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีนถึงประมาณ 37,000 ชนิด ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่ายีนสำหรับสร้างโปรตีนซึ่งมีเพียงประมาณ 21,000 ชนิด เท่านั้น
|
|||||||||||||
ยีนมิวเทชันหรือการกลายของยีน คือการที่ยีนมีโครงสร้างผิดปกติไปจึงทำหน้าที่ต่างไปจากเดิม การกลายของยีนมีหลายประเภท หากแบ่งตามปัจจัยที่ทำให้เกิดได้แก่ รังสี (ภาพที่ 3.34) สารเคมี (ภาพที่ 3.35) รวมไปถึงจุลินทรีย์ที่เป็นปรสิต เช่นไวรัส |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
ภาพที่ 3.34 การกลายของยีนเนื่องจากการสัมผัสรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
ภาพที่ 3.35 การกลายของยีนเนื่องจากสารเคมีเข้าไปแทรกอยู่ในโมเลกุล DNA |
|||||||||||||
หากแบ่งการกลายของยีนตามลักษณะการเกิดได้แก่ การกลายเนื่องจากการแทนที่เบส (ภาพที่ 3.36) และการขาดหรือเกินของเบส (ภาพที่ 3.37) |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
ภาพที่ 3.36 การกลายของยีนเนื่องจากการแทนที่เบส |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
ภาพที่ 3.37 การกลายของยีนเนื่องจากการขาดหรือเกินของเบส
|
|||||||||||||
|
|||||||||||||
![]() |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
การซ่อมแซม DNA เป็นกระบวนการที่เซลล์ใช้รักษาสภาพไว้ให้คงเดิมหลังจากเกิดการกลาย (มิวเตชัน) ขึ้น ซึ่งการซ่อมแซมนี้มีหลายประเภทขึ้นกับความผิดปกติที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งมิวเทชันเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 4 ประเภทคือ โฟโตรีแอคติเวชัน (photoreactivation repair) เป็นการบวนการซ่อมแซมดีเอนเอโดยการใช้แสงในช่วงคลื่นที่มองเห็น (visible light) สลายพันธะไพริมีดีนไดเมอร์ที่เกิดขึ้นในสาย DNA โดยใช้เอนไซม์โฟโตไลเอส (ภาพที่ 3.38) กระบวนการดังกล่าวพบเฉพาะในแบคทีเรีย เอ็กซ์ซิชันรีแพร์ (excision repair) เป็นกระบวนการซ่อมแซมโดยมีการตัดเอาเบสหรือนิวคลีโอไทด์ที่เสียหายออกก่อน แล้วจึงเติมเบสหรือนิวคลีโอไทด์ที่ถูกต้องเข้าไปใหม่ (ภาพที่ 3.39) มิสแมทช์รีแพร์ (mismatch repair) เป็นกระบวนการกำจัดเบสที่เข้าคู่ผิดในขณะเกิดการลอกแบบทิ้งไป แล้วนำเบสที่ถูกต้องมาเข้าคู่แทน (ภาพที่ 3.40) รีคอมบิเนชันรีแพร์ (recombination repair) เป็นกระบวนการซ่อมแซม DNA ที่เข้าคู่ผิดภายหลังการลอกแบบ โดยอาศัย DNA ในโฮโมโลกัสโครโมโซมที่ถูกต้องเป็นแม่แบบ (ภาพที่ 3.41) |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
|
|||||||||||||
|
|||||||||||||
![]() |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
|