ในธรรมชาติ เราสามารถพบ DNA แบบ A, B และ Z ได้ทั่วไปซึ่งแต่ละประเภทก็มีโครงสร้างและคุณสมบัติแตกต่างกัน  B-DNA เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดในสิ่งแวดล้อม คือ สภาพที่มีความเข้มข้นของเกลือต่ำและปริมาณน้ำมาก

          A-DNA พบในสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงและปริมาณน้ำน้อย A-DNA นี้มีรูปแบบคล้าย DNA แบบ B แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าเพราะมีคู่เบสต่อรอบมากกว่าและเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า อย่างไรก็ตาม DNA แบบ A นี้ยังไม่พบในสภาพแวดล้อมปกติ แต่สามารถพบได้ในสายผสมของ DNA และ RNA (DNA-RNA hybrid) หรือในบริเวณเกลียวคู่ของ RNA-RNA

         Z-DNA เป็นรูปแบบพิเศษของ DNA ที่เกลียวหมุนไปทางซ้าย จึงทำให้หมู่ฟอสเฟตมีลักษณะซิกแซกจึงเรียกว่า Z-DNA บริเวณที่พบ DNA แบบนี้จะเป็นบริเวณที่มี GC ซ้ำกันในปริมาณมาก รูปร่างของ Z-DNA จะยาวและบางกว่าของ B-DNA

 

 
A
B
Z
ทิศทางการเวียนเกลียว เวียนขวา เวียนขวา เวียนซ้าย
หน่วยซ้ำ 1 คู่เบส 1 คู่เบส 2 คู่เบส
มุมของแต่ละคู่เบส 33.6 ํ 35.9 ํ 60 ํ ต่อ 2 คู่เบส
จำนวนคู่เบสต่อ 1 รอบ 10.7 10.0 12
ระยะห่างแต่ละคู่เบส 2.3 Aํ 3.4 Aํ 3.8 Aํ
ความยาวต่อ 1 รอบ 24.6 Aํ 34 Aํ 45.6 Aํ
เส้นผ่าศูนย์กลาง 26 Aํ 20 Aํ 18 Aํ

 

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง DNA แบบ A,B และ Z

 


www.blc.arizona.edu/marty/411/Modules/helix.html