รอยเลื่อน หรือ รอยเหลื่อม (fault)


           รอยเลื่อน หรือรอยเหลื่อม คือ รอยแตกแยกในหิน ซึ่งมีการเคลื่อนที่ของหินทั้งสองข้างโดยขนานกับระนาบรอยเลื่อน (fault plane) ลักษณะของระนาบรอยเลื่อนนี้อาจเป็นระนาบที่อยู่ในแนวดิ่งไปจนถึงแนวราบได้ ถ้าระนาบของรอยแตกมีค่าเบี่ยงไปจากแนวดิ่ง ชั้นหินที่อยู่เหนือระนาบของรอยแตก เรียกว่า หินเพดาน (hanging wall) ส่วนหินที่อยู่ด้านล่างระนาบของรอยแตกเรียกว่า หินพื้น (foot wall)
         
   การจำแนกรอยเลื่อนมีได้หลายแบบ แล้วแต่นักธรณีวิทยาจะยึดอะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เช่น หากยึดการเกิดรอยเลื่อนเป็นเกณฑ์ในการจำแนกจะได้ดังนี้
          1. รอยเลื่อนปกติ (normal fault) เป็นรอยเลื่อนที่หินเพดานเลื่อนลง เมื่อเปรียบเทียบกับหินพื้น

 


ภาพรอยเลื่อนปกติ (normal fault)

 

           2. รอยเลื่อนย้อน (reverse fault) เป็นรอยเลื่อนที่หินเพดา เลื่อนขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหินพื้น ถ้ารอยเลื่อนย้อนมีค่ามุมเทเท่ากับหรือน้อยกว่า 45 องศาเซลเซียส เรียกว่า รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault)

 


ภาพรอยเลื่อนย้อน (reverse fault)


           3. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) หรือลอยเลื่อนเหลื่อมข้าง (transcurrent fault) เป็นรอยเลื่อนในหินที่สองฟากของรอยเลื่อนเคลื่อนตัวในแนวราบ


ภาพรอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault)
           
        การเกิดรอยเลื่อนมักจะมีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศเสมอ ซึ่งอาจทำให้

            -เปลือกโลกยกตัวสูงขึ้น ลดระดับลง หรือ เอียงไปจากแนวเดิม
            -ตามแนวรอยเลื่อนมักจะมีหินที่ถูกบดอัด หรือ กรวดเหลี่ยม ซึ่งง่ายต่อการกัดกร่อนมากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง
            -รอยเลื่อนอาจพาเอาหินพวกที่มีความทนทานน้อยมาอยู่ติดกับหินที่มีความทนทานมาก ทำให้เกิดความแตกต่างของการกัดกร่อนทำลายในบริเวณสองข้างของรอยเลื่อน

               รอยเลื่อนต่างๆ และขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้แสดงไวัดังภาพข้างล่าง

 


ภาพแนวแผ่นดินไหว และรอยเลื่อนของประเทศไทย
ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี