ปรากฏการณ์เรือนกระจกคืออะไร?

          "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect)  คือ  ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
เนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดย
โมเลกุลของ ไอน้ำ  คาร์บอนไดออกไซด์ C2O มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)
ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้
อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้
ีต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชน
ถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน

 

 

รูปที่ 2.16 แสดงปรากฏการณ์เรือนกระจก

 

      เรือนกระจก

ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน
ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก  แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา
ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช  จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่าภาวะ เรือนกระจก(greenhouse effect)

รูปที่ 2.17 เรือนกระจกสำหรับปลูกต้นไม้

        ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ  CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น
              - การเผาไหม้เชื้อเพลิง
              - การผลิตซีเมนต์
              - การเผาไม้ทำลายป่า

    ก๊าซชนิดใดบ้างที่มีบทบาทในการทำให้เกิดปรากฏการณ์ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น

             -   ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากมูลสัตว์เลี้ยง เช่น วัว  ควาย  การเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ

             -  ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การใช้ปุ๋ย มูลสัตว์ที่ย่อยสลาย การสันดาปน้ำมันเชื้อเพลิงจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต เช่นอุตสาหกรรมเคมี  อุตสาหกรรมพลาสติก
บางชนิดอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน

             - คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon- CFCs) เป็นสารสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ประกอบด้วย คาร์บอน (C) คลอรีน (Cl) และฟลูออรีน (F) ซึ่งเป็นสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเป็นสาเหตุ
ุทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น รังสีเหนือม่วงชนิด B หรือ Ultraviolet B ส่งมายังผิวโลกมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ใน
อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โฟม กระป๋องสเปรย์ สารดับเพลิง 
สารชะล้าง ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์

              ในปัจจุบันมีการตระหนักถึงความสำคัญของชั้นโอโซนมากขึ้นและพบว่าสาเหตุหลักของปัญหา
ชั้นโอโซนถูกทำลายนั้นมาจากสารกลุ่ม CFCsเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับสารเคมีในกลุ่มฮาโลคาร์บอน
ซึ่งประกอบด้วยอะตอมของคลอรีน ฟลูออรีน โบรมีน คาร์บอน และไฮโดรเจน จากการสำรวจโอโซนที่บริเวณ
ขั้วโลกใต้ ในปี พ.ศ. 2528 พบหลุมโอโซนที่ขั้วโลกใต้ (antartic ozone hole)  ซึ่งการถูกทำลายนี้จะเกี่ยวข้อง กับสารคลอรีนเสมอ  ทำให้ประเทศในกลุ่มซีกโลกตะวันตกและองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
มีมาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันและมีข้อกำหนดต่างๆขึ้น

 

รูปที่ 2.18 ก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก

 

   ปัญหาที่เกิดกับโอโซนจากสารทำลายชั้นโอโซน (CFC) มี 2 ประเด็น คือ

             1. สามารถฟื้นฟูโอโซนที่เสียไปได้หรือไม่

             2. หาแนวทางป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคตได้หรือไม่

     เนื่องจากโอโซนเกิดปฏิกิริยากับสารอื่นได้ง่าย จึงไม่เสถียรพอที่จะสร้างขึ้นและส่งกลับเข้าสู่บรรยากาศ
การฟื้นฟูจึงทำได้เพียงการมีมาตรการและวิธีการที่สนับสนุนด้านการลดการใช้สารทำลายชั้นโอโซนที่เกิดจาก
สาร CFCs ซึ่งก็คือ  การมีข้อกำหนดในพิธีสารมอนทรีออล