ชนิดของมลพิษทางอากาศอาจจำแนกได้เป็น 3 ประเภท
1. ก๊าซอินทรีย์ ได้แก่
ไฮโดรคาร์บอน เช่น มีเทน บิวเทน เบนซีน
aldehydeและ ketone สารอินทรีย์อื่นๆ
เช่น formaldehyde, acetone, alcohols organic acids, chlorinated hydrocarbon
2. ก๊าซอนินทรีย์ ได้แก่ ก๊าซที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (ระเหยได้)เช่น NO, NO2, HNO3 ก๊าซที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ เช่น SO2 ,SO3 ก๊าซที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบเช่น CO, CO2 สารประกอบที่มี
ฮาโลเจน (halogen) คือ I, Br, Cl, F ประกอบอยู่ด้วย
3. อนุภาคมลสาร (particulate matter) ประกอบด้วยสารต่างๆ ทั้งที่เป็นของแข็ง และของเหลวที่กระจายอยู่ในบรรยากาศ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ไมครอน (micron)ไปจนถึงหลายร้อยไมครอน เช่น ควัน เขม่า ฝุ่น ขี้เถ้า คาร์บอน ละอองน้ำ น้ำมัน ต่างๆ ซึ่งแยกได้ตามขนาดดังนี้
ฝุ่นละเอียด
(fine dust) เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 100 ไมครอน
(1 um = 1 micron = 10 - 4
cm)
ฝุ่นหยาบ (coare dust)
เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 100 ไมครอน
ไอ (Fume) เส้นผ่าศูนย์กลาง
0.001-1 ไมครอน
หมอก ( Mist) เส้นผ่าศูนย์กลาง
0.1-10 ไมครอน
ไอ เป็นอนุภาค ที่เกิดขึ้นจากการควบแน่น
(condensation) การระเหิด (sublimation) หรือปฏิกิริยาเคมี บางครั้งเรียกว่า
ควัน (smoke)
หมอก ประกอบด้วย อนุภาคของเหลว เกิดขึ้นจากการควบแน่น (condensation) และการระเหิด
เมื่อเปรียบเทียบกับไอ หรือ ควัน แล้วอนุภาคจะมีขนาดใหญ่กว่า อนุภาคมลสารกลุ่มนี้
จะยังคงอยู่ในอากาศ ได้นานกว่ากลุ่มอื่น นอกจากจะก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพอนามัยแล้ว ยังก่อให้เกิดผลทางทัศนวิสัยด้วย
(Visibility)
สารอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า
10 ไมครอน จะเรียกว่า สารอนุภาคแขวนลอย (suspended particulate) สารแขวนลอย จะตกลงพื้นจากบรรยากาศ โดยแรงโน้มถ่วงอย่างช้าๆ
และจะลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลาค่อนข้างนาน
สารมลพิษเหล่านี้ เมื่อออกจากแหล่งกำเนิดสู่อากาศ
จะถูกพาหรือแพร่กระจายโดยลม ในระหว่างการเคลื่อนที่ คุณสมบัติอาจเปลี่ยนไป
โดยกระบวนการเคมี และกระบวนการที่แสงอาทิตย์เป็นตัวเร่ง สารมลพิษนั้น
อาจถูกกำจัดจากอากาศ โดยถูกชะล้างออกโดยน้ำฝนถูกดูดกลืน (absorption) ถูกดูดซับ (adsorption) หรือเกาะบนพื้นดิน
หรือพืช การตกตัวลงมานั้นถึงแม้จะหายไปจากอากาศ แต่ทำให้น้ำและดินเกิดมลภาวะขึ้นมาได้
|