เซลล์เชื้อเพลิงแบบแอลคาไลน์
(alkaline fuel cell)
การทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงแบบแอลคาไลน์
เซลล์เชื้อเพลิงแบบแอลคาไลน์
อิเล็กโตรไลต์ที่ใช้คือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เหลว (KOH)
ไฮดรอกไซด์ไอออน(OH-)
เคลื่อนที่จากขั้วแคโทดไปยังขั้วแอโนด ที่ขั้วแอโนด แก๊สไฮโดรเจนทำปฏิกิริยากับไฮดรอกไซด์ไอออนให้น้ำและอิเล็กตรอน
หลังจากนั้นอิเล็กตรอนที่ขั้วแอโนดทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไปที่ขั้วแคโทด อิเล็กตรอนทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนและแก๊สไฮโดรเจนให้ไฮดรอกไซด์ไอออนซึ่งสามารถกลับไปเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ใหม่อีกครั้ง
ปฏิกิริยาเคมีของเซลล์เชื้อเพลิงแบบแอลคาไลน์
แอโนด:
H2(g) + 2OH-(aq) -> 2H2O(l) + 2e-
แคโทด:
1/2O2(g) + H2O(l) + 2e- -> 2OH-(aq)
ปฏิกิริยาของเซลล์:
H2(g) + 1/2O2(g) -> H2O(l)
การประยุกต์
นาซ่าเลือกเซลล์เชื้อเพลิงแบบนี้เพื่อใช้ในกระสวยอวกาศ
เช่นเดียวกับยานอวกาศอะพอลโล(Apollo) เพราะให้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงถึง
70% และให้น้ำดื่มกับนักบินอวกาศ
เซลล์เชื้อเพลิงแบบเกลืออัลคาไลน์
ที่ใช้ในยานอวกาศอพอลโล พัฒนาโดย United Technologies Corp.
ปี
1998 The Zero Emission Vehicle Company (ZEVCO) บริษัทผลิตยานพาหนะ เริ่มนำรถแท็กซี่ต้นแบบออกขายในลอนดอน
ประเทศอังกฤษ รถแท็กซี่ให้กำลังไฟฟ้า 5,000 วัตต์ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดแก๊สพิษจากท่อไอเสียและเสียงดังน้อยกว่าเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน
ซึ่ง ZEVCO ใช้โคบอลต์ (Co) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแทนแพลตินัม (Pt) ซึ่งมีราคาแพง
นอกจากนี้ยังใช้ในการผลิตยานพาหนะทางการค้า
เช่น รถตู้ และเรือ

|