เซลล์เชื้อเพลิงแบบกรดฟอสฟอริก (phosphoric acid fuel cell)

          การทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงแบบกรดฟอสฟอริก
               เซลล์เชื้อเพลิงแบบกรดฟอสฟอริก  ใช้กรดฟอสฟอริก (H3PO4) เป็นอิเล็กโทรไลต์
               ไฮโดรเจนไอออนเคลื่อนที่ผ่านสารละลายอิเล็กโทรไลต์จากแอโนดไปยังแคโทด อิเล็กตรอนซึ่งเกิดที่ขั้วแอโนดให้กระแสไฟฟ้าและกลับไปที่ขั้วแคโทด ซึ่งที่ขั้วแคโทด อิเล็กตรอนรวมตัวกับไฮโดรเจนไอออนและแก๊สออกซิเจนเกิดเป็นน้ำ ซึ่งใช้แพลตินัมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

          ปฏิกิริยาเคมีของเซลล์เชื้อเพลิงแบบกรดฟอสฟอริก
               แอโนด: H2(g) -> 2H+(aq)+ 2e-
               แคโทด: 1/2O2(g) + 2H+(aq) + 2e- -> H2O(l)
               ปฏิกิริยาของเซลล์: H2(g) + 1/2O2(g)  -> H2O(l)

          การประยุกต์
               นักวิจัยที่ Los Alamos National Laboratory ศึกษาเซลล์เชื้อเพลิงแบบกรดฟอสฟอริก เพื่อนำไปพัฒนายานพาหนะไฟฟ้า
               มหาวิทยาลัย Georgetown พัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้เพื่อใช้ในรถประจำทางขนส่ง ซึ่งให้กำลังไฟฟ้า 50 กิโลวัตต์

               4 ปีต่อมาสามารถผลิตเซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้ ซึ่งให้กำลังไฟฟ้า 100 กิโลวัตต์ แต่ต้องอุ่นเครื่องก่อนใช้ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดในการนำมาใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคล