เทคนิควิเคราะห์โพเทนชิออเมทรี

        - การวัดศักย์โดยตรง (Direct)
        - การเติมสารมาตรฐานในสารละลายตัวอย่าง (Standard additions)
        - การวัดศักย์ไทเทรต (Titration)

 

การวัดศักย์โดยตรง (Direct Potentiometric Measurements)

           การวัดศักย์โดยตรง เป็นวิธีที่คุ้นเคยและใช้กันมากที่สุด วิธีการสำหรับการวัดศักย์โดยตรง แสดงได้ดังรูป

          หลักการของวิธีนี้คือเปรียบเทียบศักย์ที่เกิดขึ้นในเซลล์ของขั้วไฟฟ้าใช้งานที่จุ่มอยู่ในสาระละลายตัวอย่างกับค่าศักย์ที่ได้เมื่อจุ่มขั้วไฟฟ้าลงในสารละลายมาตรฐาน ที่ทราบความเข้มข้นแน่นอน สมการที่เกี่ยวข้องกับการวัดศักย์โดยตรง คือ

Ecell   =    Eind   –   Eref  +   Ej

เมื่อ
Ecell
=   ศักย์เซลล์
 
Eind
=   ศักย์ที่วัดได้จากขั้วแคโทด
 
Eref
=   ศักย์ที่วัดได้จากขั้วแอโนด
 
Ej
=   ศักย์รอยต่อ


การเติมสารมาตรฐานในสารละลายตัวอย่าง (Standard addition Method)

         เป็นการศึกษาค่าศักย์ที่เกิดขึ้นกับขั้วไฟฟ้า ทั้งก่อนและหลังที่เติมสารมาตรฐานที่ทราบปริมาตรลงในสารละลายตัวอย่างที่ทราบปริมาตรแน่นอนเช่นกัน โดยสารละลายตัวอย่างต้องเติมสารอิเล็กโทรไลต์ที่เฉื่อยมากพอ เพื่อควบคุมความแรงของไอออนของสารละลายทั้งก่อนและหลังเติมสารมาตรฐานไม่ให้ต่างกัน และทั้งนี้ค่าศักย์รอยต่อสารละลาย (Ej) เมื่อเติมสารละลายมาตรฐาน และเมื่อยังไม่เติมมีค่าไม่เปลี่ยนแปลง

 

การวัดศักย์ไทเทรต (Potentiometric Titrations)

         การวิเคราะห์โดยวิธีนี้ เป็นการใช้ขั้วไฟฟ้าแบบเจาะจงไอออนเป็นการวัดการดำเนินไปของปฏิกิริยาที่เกิดจากการไทเทรต โดยทั่วไปแล้วในเทคนิคนี้ ไทแทรนต์ (titrant) ที่ใช้สามารถเกิดเป็นสารเชิงซ้อนหรือทำปฏิกิริยากับไอออนของสารตัวอย่าง
จากปริมาตรของไทแทรนต์ที่ใช้ สามารถคำนวณกลับแล้วระบุเป็นค่าความเข้มข้นของไอออนได้ การจัดอุปกรณ์สำหรับวิธีการวิเคราะห์โดยการวัดศักย์ไทเทรตแสดงได้ดังรูป