ขั้วไฟฟ้าที่ใช้สำหรับเทคนิคโวลแทมเมทรี 1.
ขั้วไฟฟ้าอ้างอิง
ได้แก่
์2. ขั้วไฟฟ้าช่วย ทำหน้าที่
เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี เป็นขั้วที่รับพลังงานไฟฟ้าจากขั้วไฟฟ้าอ้างอิงส่งต่อผ่านสารละลายไปยังขั้วไฟฟ้าใช้งานเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกับสารตัวอย่างที่ขั้วไฟฟ้าจุ่มอยู่โดยขั้วไฟฟ้าร่วมนี้
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น ตัวอย่างของขั้วไฟฟ้าช่วย
เช่น ขั้วไฟฟ้าช่วยแพลตินัม (ดังรูป)
3. ขั้วไฟฟ้าใช้งาน
ตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว ขั้วไฟฟ้าใช้งานสำหรับเทคนิคโวลแทมเมทรี นิยมใช้ขั้วไฟฟ้าจุลภาคที่นิยมได้แก่
ขั้วไฟฟ้าแบบดิสก์ (disc electrode) ขั้วไฟฟ้าหยดปรอทแขวนตัว (hanging mercury
drop electrode; HMDE) และขั้วไฟฟ้าหยดปรอท (dropping mercury electrode;
DME) ขั้วไฟฟ้าชนิดนี้มีขนาดเล็กและใช้งานง่าย ซึ่งถูกสร้างไว้ในพลาสติกขนาดกว้างคูณสูง (6 mm x 7.5 cm) และถูกตรึงไว้กับแผ่นดิสด์ของวัสดุที่ต่างกันไป เช่น ทอง แพลตินัม นิเกิล เงิน หรือ glassy carbon เส้นผ่านศูนย์กลางของขั้วไฟฟ้าแบบดิสด์มีขนาดเท่ากับ 1.6 mm หรือ 3.0 mm ขึ้นกับชนิดของวัสดุที่เลือกใช้
จากรูป
ภายในพลาสติกจะมีแท่งโลหะเล็ก ๆ สอดเข้าไปเพื่อทำการเชื่อมขั้วไฟฟ้ากับอุปกรณ์อื่น
ๆ ที่เหมาะสม เช่น คลิปปากจระเข้ หรือ gold-plated female connector ด้านนอกของพลาสติกจะมีซิลิกอนรูปวงแหวนครอบไว้
เพื่อที่จะสามารถปรับระดับความลึกที่จะจุ่มขั้วไฟฟ้าชนิดนี้ลงในโวลแทมเมตรีเซลล์ได้
ขั้วไฟฟ้าชนิดนี้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากปรอทมีศักย์เกินตัวของการเกิดรีดักชันของไอออนไฮโดรเจนค่อนข้างสูง
ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้โดยไม่ถูกรบกวนด้วยการเกิดแก๊สไฮโดรเจน นอกจากนี้ผิวหน้าของขั้วไฟฟ้าใหม่อยู่ตลอดเวลาเนื่องจากมีการสร้างหยดปรอทใหม่
ๆ ตลอดเวลาและแต่ละหยดปรอทที่เกิดขึ้นใหม่มีผลต่อการเกิดกระแสไฟฟ้าโดยไม่ถูกรบกวนจากหยดปรอทเดิม
ปัจจุบันมีการนำ CGME (controlled growth mercury drop electrode) มาใช้เป็นขั้วไฟฟ้าซึ่งสามารถควบคุมขนาดของหยดปรอทแต่ละหยดโดยใช้วาล์วซึ่งตอบสนองต่อการโตของหยดปรอทได้อย่างดี
การเปิดปิดวาล์วจะถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ขนาดของหยดปรอทสามารถปรับได้โดยการเปลี่ยนจำนวนของพัลส์หรือความกว้างของพัลส์
|