ตัวอย่างที่ 1

      

          จากรูป 1) การแยกสารละลาย NaCl เจือจางด้วยไฟฟ้า และรูป 2) การแยก NaCl หลอมเหลวด้วยไฟฟ้า จะให้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน อธิบายได้

 

1) การแยกสารละลาย NaCl เจือจางด้วยไฟฟ้า

          ที่ขั้วแอโนด มีไอออนและสารที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้คือ Cl- และ H2O โดยมีปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชันและ ค่า E เป็นดังนี้

                    Cl2(g) + 2e- 2Cl-(aq)                             +1.36 V              (1)

                    O2(g) + 4H+(aq) + 4e- 2H2O(l)              +1.23 V             (2)

          สารที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้ดี (ตัวรีดิวซ์ที่ดี) คือสารที่มีค่า E ต่ำ ปฏิกิริยา (2) มีค่า E ต่ำกว่า H2O จึงควรให้อิเล็กตรอนได้ดีกว่าแต่ในทางปฏิบัติแล้ว Cl5- ให้ e- ได้ดีกว่า และเกิดปฏิกิริยาทำให้เกิดแก๊สคลอรีนที่ขั้วแอโนด และมี Cl2 เกิดขึ้นด้วย ดังสมการ

                    2Cl- (aq) Cl2(g) + 2e-                                                           (3)

          ที่ขั้วแคโทด มีไอออนและสารที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้คือ Na+และ H2O โดยมีปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชันและ ค่า E เป็นดังนี้

                    2H2O(l) + 2e- H2(g) + 2OH-(aq)              -0.83 V             (4)

                    Na+(aq) + e- Na(s)                                   -2.71 V              (5)

          สารที่สามารถรับอิเล็กตรอนได้ดี (ตัวออกซิไดซ์ที่ดี) คือสารที่มีค่า E สูง ปฏิกิริยา (4) มีค่า E สูงที่สุด H2O จึงสามารถรับอิเล็กตรอนได้ดีกว่า ทำให้เกิดแก๊สไฮโดรเจนที่ขั้วแคโทด ดังสมการ

                    2H2O(l) + 2e-   H2(g)  +  2OH-(aq)  +  1.36 v                  (6)

          ปฏิกิริยารวม (สมการ 3 + 6) คือ            2Cl- (aq) + 2H2O(l) Cl2(g) + H 2(g) + 2OH-(aq)

***ใช้ขั้วไฟฟ้าเฉื่อยทั้งสองปฏิกิริยา

 

2) การแยก NaCl หลอมเหลวด้วยไฟฟ้า

          ที่ขั้วแอโนด มีไอออนที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้คือ Cl- โดยมีปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชันและ ค่า E เป็นดังนี้

                    Cl2(g) + 2e- 2Cl-(aq)                              +1.36 V

          Cl- ให้อิเล็กตรอนทำให้เกิดแก๊สคลอรีนที่ขั้วแอโนด

          ที่ขั้วแคโทด มีไอออนที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้คือ Na+ โดยมีปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชันและ ค่า E เป็นดังนี้

                    Na+(aq) + e- Na(s)                                   -2.71 V

          Na+ รับอิเล็กตรอนทำให้เกิดโซเดียมที่ขั้วแคโทด

          ปฏิกิริยารวมคือ       2Na+(aq) + 2Cl-(aq) 2Na(s) + Cl2(g)

 

ตัวอย่างที่ 2

      

          จากรูป 3) การแยกสารละลาย CuSO4 ด้วยไฟฟ้าโดยใช้ขั้วไฟฟ้าเฉื่อย และรูป 4) การแยกสารละลาย CuSO4 ด้วยไฟฟ้าโดยใช้ขั้วไฟฟ้าเป็นทองแดง จะให้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน อธิบายได้โดย

 

          3) การแยกสารละลาย CuSO4 ด้วยไฟฟ้าโดยใช้ขั้วไฟฟ้าเฉื่อย

          ที่ขั้วแอโนด มีไอออนและสารที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้คือ SO42- และ H2O โดยมีปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชันและ ค่า E เป็นดังนี้

                    S2O82-(aq) + 2e- 2SO42-(aq)              +2.01 V                   (8)

                    O2(g) + 4H+(aq) + 4e- 2H2O(l)            +1.23 V                  (9)

          สารที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้ดี (ตัวรีดิวซ์ที่ดี) คือสารที่มีค่า E ต่ำ ปฏิกิริยา (9) มีค่า E ต่ำกว่า H2O จึงสามารถให้อิเล็กตรอนได้ดีกว่า ทำให้เกิดแก๊สออกซิเจนที่ขั้วแอโนด และมี H+ เกิดขึ้นด้วย ดังสมการ

                    2H2O(l) O2(g) + 4H+(aq) + 4e-                                            (10)

          ที่ขั้วแคโทด มีไอออนและสารที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้คือ Cu2+,  H2O และ H+ โดยมีปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชันและ ค่า E เป็นดังนี้

                    Cu2+(aq) + 2e- Cu(s)                             +0.34 V                 (11)

                    2H+(aq) + 2e- H2(g)                                 0.00 V                 (12)

                    2H2O(l) + 2e- H2(g) + 2OH-(aq)             -0.83 V                  (13)

          สารที่สามารถรับอิเล็กตรอนได้ดี (ตัวออกซิไดซ์ที่ดี) คือสารที่มีค่า E สูง ปฏิกิริยา (11) มีค่า E สูงที่สุด Cu2+ จึงสามารถรับอิเล็กตรอนได้ดีกว่า ทำให้เกิดสารสีน้ำตาลแดงหรือทองแดงเกาะที่ขั้วแคโทด ดังสมการ

                    Cu2+(aq) + 2e- Cu(s)                                                             (14)

          ปฏิกิริยารวม (สมการ 10 + 14) คือ 2Cu2+(aq) + 2H2O(l) 2Cu(s) + O2(g) + 4H+(aq)

 

          4) การแยกสารละลาย CuSO4 ด้วยไฟฟ้าโดยใช้ทองแดงเป็นขั้วไฟฟ้า

          ที่ขั้วแอโนด มีไอออนและสารที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้คือ SO42-,   H2O  และ  Cu โดยมีปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชันและ ค่า E เป็นดังนี้

                    S2O82-(aq) + 2e- 2SO42-(aq)                +2.01 V                     (15)

                    O2(g) + 4H+(aq) + 4e- 2H2O(l)              +1.23 V                   (16)

                    Cu2+(aq) + 2e- Cu(s)                             +0.34 V                    (17)

          สารที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้ดี (ตัวรีดิวซ์ที่ดี) คือสารที่มีค่า E ต่ำ ปฏิกิริยา (17) มีค่า E ต่ำที่สุด Cu จึงสามารถให้อิเล็กตรอนได้ดีกว่า ทำให้ขั้วแอโนดกร่อนกลายเป็น Cu2+ เพิ่มขึ้นในสารละลาย ดังสมการ

                    Cu(s)  Cu2+(aq) + 2e-                                                               (18)

          ที่ขั้วแคโทด มีไอออนและสารที่สามารถให้อิเล็กตรอนได้คือ Cu2+ และ H2O โดยมีปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชันและ ค่า E เป็นดังนี้

                    Cu2+(aq) + 2e- Cu(s)                             +0.34 V                     (19)

                    2 H2O(l) + 2e- H2(g) + 2OH-(aq)            -0.83 V                    (20)

          สารที่สามารถรับอิเล็กตรอนได้ดี (ตัวออกซิไดซ์ที่ดี) คือสารที่มีค่า E สูง ปฏิกิริยา (14) มีค่า E สูงที่สุด Cu2+ จึงสามารถรับอิเล็กตรอนได้ดีกว่า ทำให้เกิดสารสีน้ำตาลแดงหรือทองแดงเกาะที่ขั้วแคโทด ดังสมการ

                   Cu2+(aq) + 2e- Cu(s)                                                                 (21)

 

Don't forget

LAnOx vs GRedCat

LAnOx: Lose electrons/mass: Anode: Oxidized(Oxidation)

GRedCat: Gain electrons/mass: Reduced(Reduction): Cathode