ปุจฉา
ฟาราเดย์ ได้ศึกษาและทดลองเกี่ยวกับกระแสเหนี่ยวนำเป็นคนแรก
โดยใช้แท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้าไป
ในขดลวดโซเลนอยด์ จากการทดลอง พบว่า เกิดกระแสขึ้นทุกครั้งที่แท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้าออกจาก
ขดลวด หรือขดลวดเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกจากแท่งแม่เหล็ก ซึ่งกระแสที่เกิดขึ้นในขดลวดมีทิศตรงข้าม
และเมื่อกลับขั้วของแท่งแม่เหล็กก็จะทำให้กระแสไหลเปลี่ยนทิศไปด้วย กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้
เรียกว่า กระแสเหนี่ยวนำ
ปริมาณของกระแสเหนี่ยวนำจะมีค่ามากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับ
1. ความแรงขั้วของแท่งแม่เหล็ก ถ้ามีแรงมากก็จะเกิดกระแสมาก
2. ความเร็วของแท่งแม่เหล็กหรือขดลวด ถ้าเคลื่อนที่เร็วเกิดกระแสมาก
3. จำนวนรอบของขดลวด จำนวนรอบมากเกิดกระแสมาก
กระแสเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นบนเส้นลวดที่เคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็ก
เมื่อให้ลวดตัวนำเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับฟลักซ์แม่เหล็ก จะมีผลทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่ภายในตัวนำ
เคลื่อนที่ด้วย จึงเกิดแรงกระทำต่ออิเล็กตรอนให้เคลื่อนที่จากปลาย ด้านหนึ่งไปยังปลายด้านหนึ่ง
เกิดกระแสเหนี่ยวนำขึ้นในลวดนี้ ทิศจากสวนทางกับการเคลื่อนท ี่ของอิเล็กตรอน
ถ้าต่อลวดตัวนำให้ครบวงจร ปลายทั้งสองของลวดตัวนำจะทำหน้าที่เป็น
แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า
ซึ่งมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
ความสัมพันธ์ระหว่างฟลักซ์แม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
การหาทิศของกระแสเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในเส้นลวดตัวนำเมื่อต่อครบวงจร
หาได้จากกฎมือขวา
กำมือขวาจาก v ไปยัง B นิ้วหัวแม่มือ ตั้งฉากกับนิ้วทั้งสี่ จะเป็นทิศของกระแสเหนี่ยวนำในเส้นลวด
กฎของฟาราเดย ์
กล่าวว่า ถ้ามีฟลักซ์แม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำมีค่าเปลี่ยนแปลง จะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า
เหนี่ยวนำเกิดขึ้นใน ขดลวดตัวนำนั้น โดยทิศของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำมีทิศตรงข้ามกับแรงเคลื่อน
ไฟฟ้าเดิม
ซึ่งจาก การทดลองและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง พบว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (I)
และแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
จะเป็นสัดส่วน โดยตรงกับ อัตราเร็วของลวดตัวนำ (v) ขนาดของสนามแม่เหล็ก (B
) และความยาว
ของเส้นลวด โดยถ้าค่าความเร็วของลวดตัวนำทำมุมค่าหนึ่งกับทิศของสนามแม่เหล็ก จะได้ว่า