ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่
ตัวต้านทาน (R)
ตัวเก็บประจุ (C) และขดลวดเหนี่ยวนำ (L)
1.วงจร ตัวต้านทาน (R)
เมื่ออยู่ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่มีกระแสไฟฟ้า I และมีความต่างศักย์ V
จะมีสมบัติเหมือนกันและคำนวณหาความต้านทาน (R)โดยใช้กฎของโอห์ม
จากกฎของโอห์มและกราฟจะได้ว่า

จึงได้ว่า “ กระแสสลับที่ผ่านตัวต้านทานและความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลาย
ของตัวต้านทานมีเฟสตรงกัน”
2. วงจรตัวเก็บประจุ (C)
เมื่ออยู่ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่มีกระแสไฟฟ้า
I และมีความต่างศักย์ V
จะมีสมบัติดังรูป

แสดงว่า กระแสไฟฟ้าในวงจรตัวเก็บประจุจะมีเฟสนำหน้าความต่างศักย์ไฟฟ้า
ของตัวเก็บประจุอยู่
90 องศา
ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงกระแสจึงผ่านไม่ได้
จึงถือว่ามีความต้านทานสูงมาก
แต่ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ แม้ว่ากระแสจะผ่านไม่ได้ แต่จะมีการเหนี่ยวนำกลับไปกลับมาระหว่างแผ่นโลหะทั้งสองข้างทำให้คล้ายมี
กระแสผ่านได้ แต่ตัวของมันจะมีสมบัติต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า
จึงคล้ายมีความต้านทาน ซึ่งเรียกว่า ความต้านทานเชิงความจุ (XC)
มีหน่วยเป็นโอห์ม
3. วงจรขดลวดเหนี่ยวนำ
(L)
เมื่ออยู่ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่มีกระแสไฟฟ้า
I และมีความต่างศักย์ V
จะมีสมบัติดังรูป

แสดงว่า กระแสไฟฟ้าในวงจรตัวเหนี่ยวนำจะมีเฟสตามความต่างศักย์ไฟฟ้า
ของตัวเก็บประจุอยู่ 90 องศา
ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ตัวเหนี่ยวนำจะมีสมบัติต้านการไหลของกระแส
ไฟฟ้า จึงคล้ายมีความต้านทาน ซึ่งเรียกว่า ความต้านทานเชิงเหนี่ยวนำ (XL
)
มีหน่วยเป็นโอห์ม
การเขียนแผนภาพเฟเซอร์
เป็นวิธีการที่จะช่วยในการรวมค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของวงจรไฟฟ้า
กระแสสลับ โดยการเขียนลูกศรแทนความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้า ให้ความยาวของลูกศรแทนขนาดและตำแหน่งของลูกศรแสดงเฟสเริ่มต้น
ของปริมาณนั้น
|