เมื่อประจุถูกแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำประจุนั้นก็จะมีการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่
ซึ่งแรงที่
มากระทำกับประจุหนึ่ง ๆ โดยประจุอื่นนั้นจะถูกส่ง ผ่านมาในรูปแบบของสนามไฟฟ้า
นิยามของสนามไฟฟ้า
แนวความคิดของสนามของแรงมีขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายการที่วัตถุถูกแรงกระทำจากวัตถุอื่นได้โดยไม่มี
การสัมผัสกันทางกายภาพ แต่มีการส่งผ่าน แรงถึงกันในระยะไกล พิจารณาวัตถุที่อยู่ในสนามแรงโน้ม
ถ่วงของโลก ดังรูป
จากรูป โลกจะส่งแรงกระทำต่อวัตถุมวล m
และวัตถุนั้นก็ส่งแรงกระทำต่อโลกเช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งโลก
และวัตถุนั้นไม่จำเป็นจะต้องมีการสัมผัสกัน ถ้าเราพิจารณาสนามโน้มถ่วงของโลก g
ซึ่งส่งแรงโน้ม
ถ่วงกระทำกับวัตถุมวล m
โดยที่ Fg= mg
โดยอาศัยหลักการพิจารณาแบบเดียวกัน เรา สามารถนิยาม
สนามไฟฟ้าได้
แทนที่จะคิดว่าประจุ q1 ส่งแรงกระทำต่อประจุ q2 เราจะคิดว่า q1
สร้างสนามไฟฟ้า และสนามนี้จะส่ง
แรงกระทำต่อประจุ q2 เราสามารถเขียน
สนามไฟฟ้าสามารถเกิดจากจุดประจุเพียงจุดเดียวได้
แต่แรงจะต้องมีจุดประจุอย่างน้อยสองจุด
ดังนั้นถ้าเราอยากหาสนามไฟฟ้าเนื่องจากประจุ เราก็ทำ ได้โดยนำประจุทดสอบ มาวางไว้ที่จุดที่ต้อง
การหาสนามไฟฟ้า แล้วหาอัตราส่วนระหว่างแรงที่ประจุ กระทำต่อประจุทดสอบ เพราะฉะนั้นอาจ
สรุบได้ว่า สนามไฟฟ้า คือ บริเวณที่ประจุไฟฟ้าสามารถส่งแรงไปถึง ซึ่งเมื่อนำประจุใด ๆ ไปวาง
แล้วจะเกิดแรงกระทำต่อประจุนั้น
ทิศของแรงที่สนามกระทำต่อประจุ
1. ถ้าประจุต้นกำเนิดสนามไฟฟ้าเป็นประจุบวก และประจุที่นำมาวางในสนามไฟฟ้าเป็นประจุบวก
ทิศของแรง F จะอยู่ในทิศเดียวกันกับทิศของสนามไฟฟ้า E
2. ถ้าประจุต้นกำเนิดสนามไฟฟ้าเป็นประจุบวก และประจุที่นำมาวางในสนามไฟฟ้าเป็นประจุลบ
ทิศของแรง F จะอยู่ในทิศตรงข้ามกับสนามไฟฟ้า E
3. ถ้าประจุต้นกำเนิดสนามไฟฟ้าเป็นประจุลบ และประจุที่นำมาวางในสนามไฟฟ้าเป็นประจุบวก
ทิศของแรง F จะอยู่ในทิศเดียวกันกับทิศของสนามไฟฟ้า E
4. ถ้าประจุต้นกำเนิดสนามไฟฟ้าเป็นประจุลบ และประจุที่นำมาวางในสนามไฟฟ้าเป็นประจุลบ
ทิศของแรง F จะอยู่ในทิศตรงข้ามกับทิศของสนามไฟฟ้า E
สนามไฟฟ้าเนื่องจากจุดประจุ
กำหนดให้จุดประจุ +Q อยู่ที่ตำแหน่งหนึ่ง ถ้าวางประจุทดสอบ +q ไว้ห่างจาก +Q เป็นระยะ
r แล้ว
จะเกิดแรงซึ่งมีขนาด F กระทำต่อประจุ +q
สนามไฟฟ้าเนื่องจากกลุ่มของจุดประจุจะเป็นผลรวมแบบเวกเตอร์ของสนามไฟฟ้าเนื่องจาก
ประจุทุกประจุ
E
= E1+E2+E3....+EN