คือ อุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่สามารถเก็บประจุหรือจ่ายประจุไฟฟ้า เมื่อต้องการใช้งาน
มีการกำหนด
สัญลักษณ์ ใช้ในวงจรไฟฟ้า คือ
ความจุไฟฟ้า
คือ ความสามารถของวัตถุในการเก็บหรือสะสมประจุความจุไฟฟ้าของวัตถุใด ๆ เขียน
แทนด้วยสัญญลักษณ์ C มีหน่วยเป็นฟารัด F
ตัวเก็บประจุเป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยตัวนำสองชิ้น
ในรูปร่างใดก็ได้ กัน มีฉนวนคั่นกลาง
ซึ่งฉนวนนี้เรียกว่า ไดอิเล็กทริก (Dielectric) เช่น อากาศ กระดาษแก้ว และเซรามิกทำหน้าที่ไม่ให้
ประจุถ่ายถึงกันแต่ยอมให้อำนาจไฟฟ้าส่งผ่านถึงกันได้ตัวเก็บประจุแบบที่ง่ายที่สุดจะเป็นแผ่นตัวนำ
สองแผ่นวางแยกกันอยู่คู่ขนานกัน โดยแผ่นหนึ่งมีประจุบวกและอีกแผ่นหนึ่งมีประจุลบ ซึ่งทำได้โดย
การนำแผ่นคู่ขนานที่เป็นโลหะและ เดิมเป็นกลางทางไฟฟ้าทั้งสองแผ่นมา แล้วใช้แรงภายนอก
ทำงาน
ในการย้ายประจุจากแผ่นหนึ่งไปไว้อีกแผ่นหนึ่ง ทำให้แผ่นหนึ่งเป็นลบ และ อีกแผ่นหนึ่งเป็นบวก
ซึ่ง
การทำเช่นนี้ ทำให้พลังงานศักย์ไฟฟ้าของระบบสูงขึ้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่า การทำให้แผ่นตัวคู่ขนาน
มีประจุนั้นเป็นการ ทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสอง เราพบว่าขนาดของความต่างศักย์
ระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสองนั้น แปรผันโดยตรงกับขนาดของประจุ ที่สะสมอยู่ที่แผ่น
ความจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุแผ่นโลหะขนาน
หาได้จาก ค่าประจุไฟฟ้าบนแผ่นใดแผ่นหนึ่งหารด้วยความต่างศักย์ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง
เรา
สามารถคำนวณความต่างศักย์ระหว่างแผ่นที่ มีประจุได้ และจะได้ว่า
คือ permittivity of free space = 8.854 x 10-12 c2/N .m2
A คือ พื้นที่หน้าตัดของแผ่นตัวนำ
d คื อ ระยะห่างระหว่างแผ่นตัวนำ
หา C จาก
จะได้
ซึ่งค่าความจุไฟฟ้านี้ไม่ขึ้นกับปริมาณของประจุไฟฟ้าที่เก็บหรือความต่างศักย์ ค่าความจุไฟฟ้าขึ้นกับพื้นที่
ของแผ่นและระยะห่างระหว่างแผ่นเท่านั้น นอกจากนี้ค่า C ยังขึ้นอยู่กับชนิดของ dielectric ที่อยู่
ระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสองโดยที่
เมื่อ K คือ dielecttric constant ที่มีค่าแตกต่างกันไปสำหรับ dielectric แต่ละชนิด
ความจุไฟฟ้าสมมูล
เมื่อนำตัวเก็บประจุไปใช้ในวงจรไฟฟ้ามักจะมีการนำตัวเก็บประจุหลายตัวมาต่อกัน ซึ่งมีทั้งแบบขนาน
และแบบอนุกรม ซึ่งในการคำนวณนั้น เรามักคิดความจุไฟฟ้าที่เกิดจากประจุหลาย ๆ ตัวว่าเสมือนเกิด
จากประจุเพียงตัวเดียวและเรียกความจุไฟฟ้านั้นว่า ความจุไฟฟ้าสมมูล