โดยทั่วไปโลหะนำไฟฟ้าได้ดีเนื่องจากมีอิเล็กตรอนอิสระ ซึ่งเคลื่อนที่แบบ ไร้ระเบียบ ที่เรียกว่า
การเคลื่อนที่แบบบราวน์ (Brownian motion ) ความเร็วเฉลี่ยของอิเล็กตรอนเป็นศูนย์ เมื่อให้ปลายทั้งสอง
ของแท่งโลหะมีความต่างศักย์ไฟฟ้าจะเกิดสนามภายในแท่งโลหะ แรงเนื่องจากสนามไฟฟ้าทำให้
อิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่มีทิศทางแน่นอนและมีความเร็วเฉลี่ยไม่เป็นศูนย์ เรียกความเร็วนี้ว่า
ความเร็วลอยเลื่อน (Drift velocity)
    กระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระจากบริเวณที่มีความต่างศักย์ต่ำไปยังบริเวณที่
มีความต่างศักย์สูง
                การเคลื่อนที่แบบบราวน
                  การเคลื่อนที่แบบความเร็ว ลอยเลื่อน
 
     ตัวนำไฟฟ้าที่ดี อิเล็กตรอนวงนอกจะมีอิเล็กตรอนนอกสุดของอะตอม ซึ่ง สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทั่ว
ทุกทิศทางด้วยความเร็วสูงในทุกส่วนของตัวนำ เมื่อเรานำตัวนำไฟฟ้าที่ดีเช่น เส้นลวดตัวนำมาต่อเข้า
กับแบตเตอรี่จากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งพบว่าจะมีกระแสของประจุไฟฟ้า ซึ่งผ่านไปในเส้นลวดตัวนำ
นั้นเราเรียกกระแสนี้ว่า กระแสไฟฟ้า (electric current) ซึ่งคืออัตราการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าผ่าน
ไปบนตัวนำไฟฟ้า ดังความสัมพันธ์
 เมื่อ I คือกระแสไฟฟ้าที่ ณ จุดจุดหนึ่ง
        q คือปริมาณของประจุที่เคลื่อนที่ผ่านจุดจุดหนึ่งบนตัวนำ
         t คือเวลาที่มีประจุ q เคลื่อนที่ผ่าน
หรือถ้าเป็นในช่วงเวลาสั้น ๆ เราจะเขียนได้เป็น
 หมายความว่าเป็นประจุจำนวนน้อย ๆ ที่เคลื่อนผ่านในช่วงเวลาสั้น ๆ (แต่ไม่ได้มีความหมายว่า q2- q1 )
 หน่วยของกระแสไฟฟ้าคือ คูลอมบ์ต่อวินาที หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แอมแปร์ (Ampere:A) ส่วน
ทิศของกระแสไฟฟ้าคือทิศที่ประจุบวกเคลื่อนที่ดังนั้นทิศของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามกับทิศท ี่
ประจุลบเคลื่อนที่