ความต้านทานไฟฟ้า  เป็นการบอกคุณสมบัติของสารในการต้านกระแสไฟฟ้าที่จะผ่านได้
มากน้อยเพียงใด สารที่มีความต้านทานมาก  กระแสผ่านไปได้น้อย ส่วนสารที่มีความต้านทาน
น้อยกระแสผ่านได้มาก
    ตัวต้านทาน   เป็นอุปกณ์ที่ช่วยปรับความต้านทานให้กับวงจร เพื่อช่วยปรับให้กระแสไฟฟ้า
 พอเหมา
กับวงจรนั้น ๆ ตัวต้านทาน (Resistor) ในวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบ่งเป็น 2 แบบ
1. ตัวต้านทานค่าคงตัว
เป็นตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานคงตัว ทำจากผงคาร์บอนอัดแน่น
เป็นรูปทรงกระบอกขนาดเล็กมีแถบสีคาดเพื่อบอกค่าความต้านทาน เขียนสัญลักษณ์แทนด้วย
 2. ตัวต้านทานที่แปรค่าได้
เป็นตัวต้านทานที่ทำหน้าที่จำกัดค่ากระแสไฟฟ้า จึงถูกนำไปใช้ในการควบคุมกระแสไฟฟ้าและ
แบ่งศักย์ไฟฟ้า เป็นส่วนประกอบในเครื่องวัดบางชนิด เช่น โอห์มมิเตอร์

การอ่านค่าความต้านทานจากแถบสีบนตัวต้านทาน
ความหมายของแถบสีบนตัวต้านทาน
แถบที่ 1 เป็นตัวเลขตัวแรกของความต้านทาน
แถบที่ 2 เป็นตัวเลขตัวที่สองของความต้านทาน
แถบที่ 3 บอกเลขชี้กำลังของฐานสิบที่ต้องนำไปคูณกับเลขสองตัวแรก
แถบที่ 4 บอกค่าความคลาดเคลื่อนของความต้านทานเป็นร้อยละ
ค่าของสีแต่ละสี เป็นดังนี้

 

เราทราบว่าความต่างศักย์ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของประจุ ซึ่งวัดได้ในรูปของกระแสไฟฟ้า เราพบว่า
สำหรับสสารโดยส่วนใหญ่ การเพิ่มความต่างศักย์ระหว่างจุดสองจุดจะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลมีค่า
มากขึ้นด้วยโดยความสัมพันธ์อย่างง่ายที่สุดจะเป็นกรณีที่กระแสไฟฟ้าที่ไหลแปรผันตรงตามความ
ต่างศักย์ ดังแสดงในรูป