สภาพต้านทาน (Resistivity) ปกติตัวนำไฟฟ้าอย่างเช่นเงินหรือทองแดงจะมีสภาพต้านทานไฟฟ้าอยู่บ้าง
 สังเกตจากการที่สายไฟเกิดร้อนขณะที่ม ีการไหลของกระแส ความต้านทานของตัวนำที่มีพื้นที่ตัดขวาง
สม่ำเสมอจะขึ้นกับส่วนกลับของพื้นที่ตัดขวาง และความยาวของตัวนำ นอกจากยังขึ้นกับอุณหภูมิของ
ตัวนำอีกด้วยซึ่งจะกล่าวต่อไป ที่อุณหภูมิคงที่ความต้านทานของตัวนำมีค่า


คือความยาวมีหน่วยเป็นเมตร
A คือพื้นที่ตัดขวางมีหน่วยเป็นตารางเมตร
คือ สภาพต้านทานสภาพต้านทาน มีหน่วยเป็น โอห์ม . เมตร

ค่าของความต้านทานจะขึ้นอยู่กับ

1.ชนิดของวัสดุที่ใช้นำไฟฟ้า เช่น เงิน, ทองแดง, เหล็ก, เป็นต้น
2.ความยาว (ยาวมากความต้านทานก็มาก)
3.พื้นที่ตัดขวางของตัวนำ (พื้นที่มากความต้านทานจะน้อยลง) จากการศึกษาหาความสัมพันธ์ของความ
ต่างศักย์ไฟฟ้า (V) และกระแสไฟฟ้า (I) เพื่อหาความต้านทานของลวดโลหะตามกฎของโอห์มทำ
ให้ทราบว่า
1. ความต้านทาน (R) ของลวดโลหะแปรผันตรงกับความยาว (l) ของลวดโลหะเมื่อภาคตัดขวาง (A)
มีค่าคงตัว
2. ความต้านทาน (R) ของลวดโลหะ จะแปรผกผันกับภาคตัดขวาง (A) ของลวดโลหะเมื่อความยาว (l)
ของลวดคงตัว จากความรู้ที่ได้ทั้ง 2 ข้อ สามารถเขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ว่า

  จากความสัมพันธ์ในสมการที่ (3) ได้นำเอาความรู้ไปสร้างอุปกรณ์ที่เรียกว่า สเตรนเกจ (Strainguage)
เป็นอุปกรณ์ใช้วัดหาขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุโค้งหรือบิดงอ โดยอาศัยหลักการที่ว่า
“ถ้าลวดตัวนำมีความยาวหรือภาคตัดขวางเปลี่ยน ทำให้ความต้านทานที่เปลี่ยนไปสามารถ
เทียบเป็นค่าแรงได้”