แอมมิเตอร์
โวลต์มิเตอร์ และโอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้า
เพื่อใช้วัดปริมาณกระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า
ตามลำดับ เครื่องวัดดังกล่าวดัดแปลงจากแกลวานอมิเตอร์(Galvanometer)
ชนิดขดลวดเคลื่อนที่
หลักการทำงานของแกลแวนอมิเตอร์ คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปในขดลวด
จะทำให้ขดลวดหมุนได้เนื่องจากแรงกระทำระหว่างสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบๆขดลวด
กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากขั้วแม่เหล็ก เข็มที่ติดอยู่ขดลวดจึงหมุนไปกับขดลวดด้วย
หลักการสร้างแอมมิเตอร์
1. เมื่อจะใช้แอมมิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้าในส่วนใดของวงจร
จะต้องนำแอมมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับส่วนนั้นของวงจร
2. แอมมิเตอร์จะต้องมีความต้านทานน้อย
3. เพื่อให้แอมมิเตอร์วัดกระแสได้มาก ให้นำความต้านทานมาต่ออย่างขนานกับ
แอมมิเตอร์ เรียกว่า การต่อชันต์ (Shunt)
RG คือ ความต้านทานของแกลแวนอมิเตอร์
RS คือ ความต้านทานของชันต์
I คือ กระแสไฟฟ้าทั้งหมดที่ต้องการวัด
IG คือ กระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ผ่านแกลแวนอมิเตอร์
IS คือ กระแสไฟฟ้าที่ผ่านชันต์
จากรูปจะได้ว่า I = IG+IS และเนื่องจาก RG
ต่อขนานกับ RS
ฉะนั้นความต่างศักย์คร่อมส่วนล่างเท่ากับข้างบน
จะได้ว่า Vล่าง = Vบน
ISRS = IGRG
 |
หรือ |
 |
|