หลักการสร้างโอห์มมิเตอร


       โอห์มมิเตอร์ ประกอบด้วยแกลแวนอมิเตอร์ต่ออยู่กับตัวต้านทาน Ro
ที่เปลี่ยนค่าได้และเซลล์ไฟฟ้า E ถ้าต้องการวัดค่าความต้านทานที่ไม่ทราบค่า
Rx ใดๆ ให้เอาขั้ว X และ Y ไปต่อที่ปลายของตัวต้านทานนั้น
จะมีผลทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านโอห์มมิเตอร์ ดังนี้

1. ถ้า Rx มีค่ามาก กระแสไฟฟ้าที่ผ่านโอห์มมิเตอร์มีค่าน้อย เข็มจะเบนน้อย
2. ถ้า Rx มีค่าน้อย กระแสไฟฟ้าที่ผ่านโอห์มมิเตอร์มีค่ามาก เข็มจะเบนมาก
จากรูปจะได้ว่ากระแสไฟฟ้าในโอห์มมิเตอร์มีค่า

ถ้านำขั้ว X และ Y ต่อกันถือว่าความต้านทานเป็นศูนย์ กระแสไฟฟ้าจะผ่าน
โอห์มมิเตอร์ได้มากที่สุด เข็มของโอห์มมิเตอร์จะเบนได้มากที่สุด ตำแหน่ง
ของเข็มจะชี้เลขศูนย์ ซึ่งก่อนนำไปใช้วัดความต้านทานใดๆ
ต้องตรวจสอบให้เข็มชี้ที่ศูนย์โอห์มทุกครั้ง ดังนั้น สเกลของโอห์มมิเตอร์
จะกลับกับ แอมมิเตอร์และโวลต์มิเตอร์

เนื่องจากแอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ และโอห์มมิเตอร์ ถูกดัดแปลงมาจากแกลแวนอมิเตอร์
ดังนั้นจึงถูกสร้างรวมไว้ในเครื่องเดียวกัน เรียกว่า มัลติมิเตอร์ (Multimeter)
ที่แสดงผลด้วยขีดสเกล    ปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์
์มาพัฒนาให้มัลติมิเตอร์แสดงผลด้วย ตัวเลข เรียกว่า ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeter)

นำขั้ว x และ y มาต่อกันจะได้ว่ากระแสไฟฟ้าในโอห์มมิเตอร์มีค่า

คือ emf ของเซลล์ไฟฟ้าภายในโอห์มมิเตอร์
RG คือ ความต้านทานภายในของแกลแวนอมิเตอร์
Ro คือ ความต้านทานของชันต์
Rx คือ ความต้านทาน ที่ต้องการวัด
r คือ ความต้านทานภายในของเซลล์ไฟฟ้า