สนามแม่เหล็ก (Magnetic Field)
คือ บริเวณที่แท่งแม่เหล็กส่งอำนาจการดึงดูดไปถึง ในไฟฟ้าสถิตย์ ประจุไฟฟ้าเป็นต้นกำเนิดของสนาม
ไฟฟ้า แต่ในเรื่องแม่เหล็กไม่มี วัตถุใดที่เป็นจุดโดดเดี่ยวที่จะให้สนามแม่เหล็กออกมา หรือไม่มีขั้วแม่เหล็กเดี่ยว ๆ (magnetic monopole)
นั่นคือไม่มีประจุแม่เหล็กที่มีความสัมพันธ์คล้ายกับไฟฟ้าได้ จากการทดลอง พบว่าสนามแม่เหล็กเกิดจากประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่
ดังนั้นความสัมพันธ์ ที่คล้ายกับความสัมพันธ์ของสนามไฟฟ้ากับประจุ ได้คือ ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก
และสนามแม่เหล็กก็ทำให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ซึ่งความสัมพันธ์นี้บอกว่าประจ ที่เคลื่อนท ี่หรือกระแสไฟฟ้าทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก
และถ้าประจุเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กหรือวางลวดที่มีกระแสไหลในสนามแม่เหล็กจะมีแรงแม่เหล็กกระทำบนประจุหรือลวด



เส้นแรงแม่เหล็ก (Magnetic Lines of Force)
คือ เส้นสมมติเสมือนว่าแท่งแม่เหล็กส่งอำนาจการดึงดูดไปถึง วิธีหาเส้นแรงแม่เหล็ก
ทำได้โดย
1.ใช้ผงตะไบเหล็ก โรยบนกระดาษที่วางทับแท่งแม่เหล็กไว้เมื่อกระดาษ เมื่อเคาะเบา ๆ จะมองเห็นแนวของเส้นแรง

2. ใช้เข็มทิศ แนวการวางตัวของเข็มทิศ คือ แนวของเส้นแรงแม่เหล็กจากวิธีการนี้จะทำให้เห็นว่าเส้นแรงแม่เหล็กมีทิศออกจากขั้วเหนือ
ไปสู่ขั้วใต้เสมอ

สมบัติของเส้นแรงแม่เหล็ก
1. มีทิศพุ่งออกจากขั้วเหนือไปขั้วใต้ และมีความหนาแน่นมากบริเวณใกล้ขั้วแม่เหล็ก ส่วนทิศของเส้นแรงแม่เหล็กโลกจะมีทิศจาก
ขั้วโลกใต้สู่ขั้วโลกเหนือ เพราะแท่งแม่เหล็กโลกมีขั้วเหนืออยู่ทางทิศใต้ และขั้วใต้อยู่ทางทิศเหนือ

2. เส้นแรงแม่เหล็กไม่ตัดกัน แต่จะรวมกันหรือต้านกันออกไป


 ฟลักซ์แม่เหล็ก (Magneticflux,) คือปริมาณเส้นแรงแม่เหล็กหรือจำนวนของเส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่ง
จากขั้วหนึ่งไปยังขั้วหนึ่ง ของแท่งแม่เหล็ก มีหน่วยเป็น เวเบอร์ (Weber,Wb)
ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก หรือ ความเข้มของสนามแม่เหล็ก (Magnetic flux densit) คือ จำนวน
เส้นแรงแม่เหล็กต่อหน่วย พื้นที่ที่เส้นแรงแม่เหล็กตกตั้งฉากเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็น Wb/m2
หรือ เทสลา (Tesla,T) จากนิยามจะได้ว่า
B คือ ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก หรือ มีหน่วยเป็นWb/m2 หรือ เทสลา (T)
  คือ ฟลักซ์แม่เหล็ก มีหน่วยเป็น Wb
A คือ พื้นที่ที่ตกตั้งฉาก มีหน่วยเป็น ตารางเมตร (m2)