ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อม
นับว่าสำคัญมาก  สาเหตุหนึ่ง
ก็คือมนุษย์ทำให้เกิดมลพิษ
ทางสิ่งแวดล้อม





เช่น น้ำเน่าเสียจากการทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำ
ลำคลอง การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์
การปนเปื้อนของโลหะหนักลงสู่พื้นดิน
ใช่หรือเปล่าคะ


 



ใช่ แล้วถ้าสารพิษต่างๆเหล่านั้น
เข้าสู่ร่างกายก็จะก่อให้เกิดอันตราย
ต่อร่างกาย หรือทำให้ป่วยได้
ในร่างกายของเราก็มีระบบการกำจัดสารพิษโดยเอนไซม์ด้วยเหมือนกัน
ดีจังค่ะ แล้วมีเอนไซม์ตัวไหนบ้างค่ะ พี่ช่วยบอก
ให้หนูดีทราบหน่อยค่ะ


       การทำลายพิษโดยเอนไซม์ (enzymatic detoxification) เป็นวิธีการทำลาย
สารพิษในเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการทำลายสารพิษมีหลายแบบ
ขึ้นกับโครงสร้างของสารพิษและเอนไซม์ที่ใช้ เช่น ออกซิเดชัน รีดักชัน
ไฮโดรไลซิส ดีอะมิเนชัน เป็นต้น


      ออกซิเดชัน
เป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นมากในร่างกาย เช่น เมทิล แอลกอฮอล์
(methyl alcohol) จะถูกเปลี่ยนเป็น กรดฟอร์มิก (formic acid) โดยเอนไซม์
ที่อยู่ในตับ ตามสมการ


                     CH2OH + NAD +       HCOOH + NADH +



      ไฮโดรไลซิส
เป็นปฏิกิริยาทำลายสารพิษด้วยเอนไซม์กลุ่ม เอสเทอร์เรส
(esterase) ทำให้โมเลกุลแยกออกจากกัน เช่น ยาฆ่าแมลงในกลุ่ม ออกาโนฟอสเฟต
(organophosphate) จะถูกทำลายโดยเอนไซม์ในตับที่ชื่อ ฟอสโฟฟลูโอเรส
(phosphofluorase)

 

      อะซิติลเลชัน (acetylation) เป็นการเติมหมู่ อะซิติล ให้แก่ –NH2 –OH หรือ -SH
ของสารพิษโดยเอนไซม์กลุ่มทรานเฟอเรส (transferase) โดยใช้อะซิติล โค เอ
(acetyl-CoA) เช่น สารพิษพวกอโรมาติก เอมีน (aromatic amine) ถูกเปลี่ยน
โดยเอนไซม์ เอ็น อะซิติล ทรานส์เฟอเรส (N-acetyl transferase)


      เมทิลเลชัน (methylation) เป็นการเติมหมู่เมทิล จาก SAM (S-adenosyl methionine) ให้กับหมู่ –NH2 หรือ –OH ของสารพิษโดยใช้เอนไซม์กลุ่ม เมทิลทรานเฟอเรส (methyl transferase)

      คอนจูเกชัน (conjugation) เป็นการรวมของสารพิษกับสารอื่นๆในเซลล์เพื่อ
ลดความเป็นพิษลง โดยทำให้สารพิษนั้นละลายในน้ำได้ดีขึ้น และถูกขับออกทาง
ปัสสาวะได้ โดยมักจะใช้เอนไซม์กลุ่ม ทรานส์เฟอเรส (transferase)