โกรทฮอร์โมนจะถูกควบคุมโดยระบบประสาทส่วนกลางโดยผ่านทางไฮโพทาลามัส คือ โกรทฮอร์โมนรีลีสซิงฮอร์โมน (GHRH) จากไฮโพทาลามัส จะกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้มีการ หลั่งโกรทฮอร์โมนออกมา   

         นอกจากนั้น การนอนหลับสนิทเป็นระยะเวลานาน การออกกำลังกาย ความรู้สึกหิว และการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนจะทำให้มีการสร้างโกรทฮอร์โมนมากขึ้น

        ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ กรดไขมันในเลือดที่ลดลงและการเพิ่มขึ้นของกรดอะมิโน จะเพิ่มการหลั่งโกรทฮอร์โมน ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้มีการหลั่งโกรทฮอร์โมนลดลง

        การทำงานของโซมาโตสแททิน( somatostatin : SS) ซึ่งเป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่สร้าง มาจากเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งที่ไฮโพทาลามัสด้วย จะยับยั้งไม่ให้มีการหลั่งของโกรทฮอร์โมน ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า

ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตโกรทฮอร์โมน

 

      เกรลิน (ghrelin, ghre หมายถึงเจริญเติบโต : grow) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่สร้างจากกระเพาะ อาหารจะไปจับกับตัวรับสัญญาณที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (ตัวรับสัญญาณของเกรลินคือ growth hormone secretagogue receptor : GHS-R.) ซึ่งกระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมนได้