การตรวจปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ เป็นดัชนีชี้วัดภาวะการขาดสารไอโอดีนที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก ทั้งนี้เพราะการเก็บตัวอย่างปัสสาวะสามารถทำได้ง่าย และมากกว่า 90 % ของไอโอดีนในร่างกายจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ นอกจากนี้ ระดับของไอโอดีนสะท้อนถึงปริมาณไอโอดีนที่ได้รับหรือภาวะการขาดไอโอดีนได้ทันที
WHO/UNICEF/ICCND ได้ใช้ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ ในการประเมินระดับความรุนแรงของการขาดสารไอโอดีน ดังนี้
ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ (ug/L)
ภาวะการขาดสารไอโอดีน
<20
รุนแรง
20-49
ปานกลาง
50-99
เล็กน้อย
>100
ไม่ขาด
วิธีวิเคราะห์หาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะที่ใช้กันทั่วไปนั้นค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เวลานาน และใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างแรงที่อุณหภูมิสูงถึง 110 องศาเซลเซียส ในการย่อยปัสสาวะ เพื่อทำลายสารอื่น ๆ ก่อนที่จะวิเคราะห์ไอโอดีน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ต่อตัวอย่างสูง และยังจะต้องใช้เวลานานในการวิเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถทำในห้องปฏิบัติการทั่วไป รวมทั้งในภาคสนามได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อจำกัดในการที่จะวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมากให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะเคยมีรายงานถึงวิธีที่รวดเร็วในการหาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ แต่ยังมีปัญหาด้านความไว ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ใช้ได้กับตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บใหม่เท่านั้น
UI-KIT : ชุดทดสอบภาคสนามเพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง ๆ

คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ โดยใช้ prepacked chacoal column แทนวิธีการย่อยด้วยกรดที่อุณหภูมิสูง ในการแยกสารรบกวนต่าง ๆ ในปัสสาวะ สารเหล่านี้ เช่น ไธโอไซยาเนตและกรอแอสคอร์บิค ซึ่งมีผลต่อการหาปริมาณไอโอไดด์

นอกจากนี้ ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณไอโอไดด ์โดยใช้วิธีการทำให้เกิดสี ซึ่งสามารถดูได้ด้วยตาเปล่า และสามารถปรับให้ใช้ในภาคสนามได ้แทนวิธีการเก่าที่ใช้วัดอัตราที่สีเหลืองจางหายไป โดยได้พัฒนาวิธีการทำให้เกิด product ที่มีสีโดยใช้สาร tetramethylbenzidine

การแยกสารรบกวนในปัสสาวะ โดยใช้ chacoal column
วิธีการที่พัฒนาใหม่นี้ สามารถใช้หาปริมาณไอโอไดด์ได้ทั้งแบบ quantitative โดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 650 nm และแบบ semi-quantitative โดยการเทียบสีของผลผลิตที่เกิดขึ้นกับแถบสีมาตรฐาน
แถบสีมาตรฐาน เพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีน

สำหรับวิธีการทาง quantitative ที่พัฒนาขึ้นมาถือได้ว่ามีความแม่นยำ (%CV = 6.04) ในด้านความน่าเชื่อถือนั้น ได้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยเปรียบเทียบวิธีที่พัฒนาใหม่กับวิธีมาตรฐาน พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ของความสัมพันธ์เท่ากับ 0.964 และมีความสอดคล้องกัน คือมีค่า kappa เท่ากับ 0.802

ส่วนการประมาณค่าไอโอไดด์โดยการเทียบสี พบว่ามีความสอดคล้องกับวิธีมาตรฐานเช่นกัน คือมีค่า kappa เท่ากับ 0.737

จากการหาปริมาณไอโอดีนในตัวอย่างปัสสาวะมากกว่า 200 ตัวอย่าง พบว่าอัตราการเกิดสีกับปริมาณไอโอไดด์มีความสัมพันธ์กัน ดังแสดงในรูป

จากการวิจัยเบื้องต้น มีความเป็นไปได้ ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นชุดทดสอบภาคสนามสำหรับไอโอดีนในปัสสาวะ ซึ่งนอกจากจะบอกภาวะการขาดสารไอโอดีน ในขั้นต่าง ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติได้จากการดูสีที่เกิดขึ้นเทียบกับแถบสีมาตรฐานแล้ว ยังสามารถทำได้โดยตรงจากการวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสี

การวัดภาวะการขาดสารไอโอดีนโดยวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสีนี้ จะลดความผิดพลาดที่เกิดจากการอ่านสีลงได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดลองใช้ในภาคสนาม
เครื่องวัดสี สามารถวัดอัตราเร็วในการเกิดสี และบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกต
UI-KIT...สะดวก ง่าย ไม่เป็นอันตราย การใช้มี 2 ขั้นตอน

1. แยกสารรบกวนปฏิกิริยาในปัสสาวะออก โดยการผ่านคอลัมน์

2. วัดปริมาณไอโอไดด์ โดยใส่สารเพื่อทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ตามปริมาณไอโอไดด์ และวัดอัตราการเกิดสีด้วย UI-Reader ได้เป็นสถานภาพการขาดไอโอดีน (ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติ)

UI-KIT ชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ

UI-KIT เป็นชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ เพื่อบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนในขั้นต่าง ๆ ได้ คือ ขาดรุนแรง, ขาดปานกลาง, ขาดเล็กน้อย หรือปกติ ณ แหล่งที่เก็บ ได้ทันที

ข้อดีของ UI-KIT
UI-KIT เป็นชุดตรวจสอบไอโอดีนในปัสสาวะ มีวิธีการใช้ที่สะดวกและง่าย สามารถบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนได้อย่างรวดเร็ว

ใช้วิธีใหม่ที่ไม่รุนแรง คือ การใช้ charcoal คอลัมน์ในการขจัดสิ่งรบกวนต่อการหาปริมาณไอโอดีนออกจากปัสสาวะ แทนวิธีเก่าที่ต้องย่อยสลายด้วยกรดเข้มข้นที่อุณหภูมิสูง

ใช้วิธีการวัด product ที่มีสี และ shade ของสียังต่างกันที่ความเข้มข้นของไอโอดีนที่ต่างกัน ซึ่งมีประโยชน์มาก เพราะนอกจากจะบอกภาวะการขาดสารไอโอดีนได้โดยตรงจากการวัดอัตราเร็วในการเกิดสีด้วยเครื่องวัดสีแล้ว ยังสามารถดูสีที่เกิดขึ้นโดยตาเปล่าได้

ประโยชน์ของ UI-KIT
ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ณ สถานที่นั้น ๆ ว่าขาดไอโอดีนหรือไม่ เพื่อจะได้แก้ไขทันท่วงที
สถานีอนามัย ใช้ตรวจคนท้องทุกคนให้แน่ใจว่าไม่ขาดไอโอดีน
โรงเรียน ใช้ตรวจเด็กเล็กว่าไม่ขาดไอโอดีน