ในทวีปยุโรปเมื่อ 500 ปีก่อน ลีโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ศิลปินเอกของโลก ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ. 1995-2062 ได้ทำการผ่าศพมนุษย์กว่า 30 ศพ เพื่อศึกษาระบบกล้ามเนื้อและกระดูกอย่างละเอียด สำหรับใช้ในการวาดภาพคนเหมือนจริงในงานจิตรกรรมรับใช้คริสตศาสนาและภาพวาดบุคคลทั่วไป เราอาจมองว่านี่เป็นการลงทุนที่มากเกินความจำเป็น แต่ก็เป็นเบื้องหลังแห่งความสำเร็จในการวาดภาพ เวอร์จินออฟเดอะร็อค (The Virgin of the Rocks) ภาพชุดพระแม่และบุตรกับเซนต์แอนน์ (Virgin and Child with St Anne) และภาพโมนาลิซ่า (Mona Lisa) ที่มีความยอดเยี่ยมทั้งในด้านทักษะการวาดภาพ การให้แสงเงา และการสร้างเค้าโครงตามความเป็นจริง

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Head Study

Drawings of an Embryo
in the Uterus

Dissection of the Principal Organs
of a Woman

 

 

 

 

The Virgin of the Rocks

Portrait of Mona Lisa
Madonna and Child
with St Anne

 

 

 

          กล้ามเนื้อลายที่ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างของร่างกายยึดติดกับกระดูกด้วยเอ็น (tendon) ซึ่งเป็นแถบหนาสีขาวขุ่น เอ็นที่ช่วยยึดกล้ามเนื้อน่องเข้ากับกระดูกส้นเท้า มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Achilles tendon
           อะคิลิส (Achilles) เป็นชื่อของวีรบุรุษกรีกผู้ยิ่งใหญ่แห่งสงครามทรอย (Trojan War) โฮเมอร์ (Homer) เขียนเรื่องราวมหาสงครามครั้งนี้ไว้ในมหากาพย์อิเลียด (Iliad) ตั้งแต่เมื่อหลายร้อยปีก่อนคริสตกาล
          สงครามทรอยซึ่งกินเวลายาวนานถึง 10 ปี มีที่มาจากการที่เจ้าชายปารีส (Paris) ไปลักพาราชินีเฮเลน (Helen) แห่งสปาร์ตา (Sparta) มายังกรุงทรอย (Troy) จากนั้นพันธมิตรกรีกได้เดินทางข้ามทะเลอีเจียน (Aegean Sea) มายังเมืองทรอยเพื่อชิงราชินีเฮเลนคืน
          มหาสงครามครั้งนี้มีวีรบุรุษมากมายผลัดเปลี่ยนหน้ากันเข้ามา แต่ผู้ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดก็คืออะคิลิสแห่งกองทัพพันธมิตรกรีก           เรื่องราวของอะคิลิสมีอยู่ว่าเมื่อเขาได้ถือกำเนิดขึ้น เทวีเธทิส (Thetis) ผู้เป็นมารดาได้นำอะคิลิสจุ่มลงไปในแม่น้ำสติกซ์ (River Styx) ในยมโลก เพื่อให้เขาปลอดภัยจากศาสตราวุธทั้งหลาย พระนางยึดข้อเท้าข้างหนึ่งของโอรสไว้มั่นแล้วจุ่มเขาลงไปในน้ำ ส่วนเท้าของอะคิลิสที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาเป็นเพียงจุดเดียวในร่างกายที่ไม่ได้สัมผัสสายน้ำ จุดนี้เองที่กลายเป็นจุดอ่อนของเขา

 

 

 

 

 

          เทพเจ้าอะพอลโลซึ่งเป็นเทพผู้พิทักษ์เมืองทรอยได้บอกความลับเรื่องจุดอ่อนในร่างกายอะคิลิสให้เจ้าชายปารีสรู้ เพื่อจะกำจัดมหาบุรุษกรีกผู้นี้ แล้วอะคิลิสก็จบชีวิตลงด้วยการถูกลอบยิงที่ส้นเท้าด้วยลูกธนูอาบยาพิษ

 

 

 

 

          คำว่า Achilles heel ยังคงเป็นศัพท์ที่ติดมาใช้ในปัจจุบัน แปลว่า จุดอ่อนที่ทำให้พ่ายแพ้ได้

         ชื่อเรียกเอ็นส้นเท้า “Achilles tendon” ได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2236 โดยแฟร์ไฮย์เดน (Verheyden) นักกายวิภาคชาวดัตช์ผู้ซึ่งทำการศึกษาเรื่องเอ็นส้นเท้าจากเท้าของเขาเองที่ถูกตัดทิ้งไป

 

 

 

 

 

          คนไทยเรียกเอ็นส้นเท้าว่า “เอ็นร้อยหวาย” ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ทาสในสมัยก่อนจะถูกเจาะเนื้อตรงช่วงระหว่างเอ็นส้นเท้ากับตาตุ่มแล้วเอาหวายร้อย ทาสหลายๆ คนจะถูกร้อยโยงติดกันไว้ เพื่อไม่ให้หลบหนีไปไหนต่อไหนได้ และนี่ก็เป็นที่มาของชื่อ เอ็นร้อยหวาย ภาคคนไทย