หลอดเลือดขยายตัว: เมื่อเส้นใยกล้ามเนื้อใช้พลังงานจากการสลาย ATP จะมีสารอื่นๆ ที่มันไม่ได้ใช้ประโยชน์เกิดขึ้นด้วย เช่น อะดีโนซีน ไฮโดรเนียมไอออน และคาร์บอนไดออกไซด์ สารเหล่านี้จะถูกขนส่งออกนอกเส้นใยกล้ามเนื้อไปตามหลอดเลือดฝอย ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายใหญ่ขึ้น อัตราการไหลของเลือดก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้แรงดันเลือดที่สูงกว่าเดิมทำให้ถุงลมในปอดสามารถรับออกซิเจนได้ดีขึ้น

มีการดึงเลือดจากอวัยวะอื่น: ระบบประสาทซิมพาเทติก ส่งสัญญาณไปกระตุ้นให้หลอดเลือดทั่วร่างกายหดตัว แต่หลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมีการขยายใหญ่ขึ้นเนื่องจากสารต่างๆ ที่เป็นผลิตผลพลอยได้ ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นที่ไม่สำคัญได้น้อยลง เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต แต่เลือดจะถูกดึงไปที่กล้ามเนื้อแทน

หัวใจสูบฉีดมากขึ้น: ระบบประสาทซิมพาเทติก ส่งสัญญาณไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นด้วยอัตราเร็วขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนที่ปอดเกิดได้รวดเร็วกว่าในระยะพัก

หายใจลึกขึ้น ถี่ขึ้น:
สารซึ่งเป็นผลผลิตพลอยได้จากการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น กรดแลกติก ไฮโดรเนียมไอออน และคาร์บอนไดออกไซด์ จะไปช่วยกระตุ้นศูนย์การหายใจในสมอง จากนั้นระบบประสาทซิมพาเทติก จะส่งสัญญาณไปกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจให้หายใจอย่างแรงและเร็ว เพื่อเติมออกซิเจนให้เต็มปอด

ฮีโมโกลบินรับออกซิเจนได้มากขึ้น: กรดแลกติก และไฮโดรเนียมไอออน ที่เกิดขึ้นจะทำให้ pH ในเส้นใยกล้ามเนื้อลดต่ำลงกว่าปกติ ทำให้ออกซิเจนที่เกาะอยู่กับฮีโมโกลบินเกาะได้ไม่ดีเท่าที่ควร ออกซิเจนจึงถูกปล่อยออกสู่กล้ามเนื้อได้มากขึ้น