|
|
|
|
นาโนเทคโนโลยี หน่วยที่ 1: ประวัติวิทยาศาสตร์ระดับนาโน คริสตศตวรรษที่ 20 (3) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คำว่า “นาโนเทคโนโลยี (nanotechnology)” ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ โนริโอะ ทานิกูชิ (Norio Taniguchi) แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งกรุงโตเกียว (Tokyo Science University) ประเทศญี่ปุ่น เขาใช้คำว่านาโนเทคโนโลยีนี้เพื่อที่จะบรรยายถึงว่าเป็น “เทคโนโลยีการผลิตที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงเป็นพิเศษ และก้าวข้ามพ้นมิติของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างเช่น ความแม่นยำที่สุดและถูกต้องที่สุดในระดับขนาด 1 นาโนเมตร ” |
|
|
|
|
|
 |
Charles Morrison |
|
|
|
|
|
|
ศาสตราจารย์ชาร์ล มอริสัน และเอ็มม่า มอริสัน (Charles & Emma Morrison) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเคมีแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern University) ประเทศสหรัฐอเมริกา มาร์ก รัทเนอร์ (Mark A. Ratner) และแอฟแวรม (A. Aviram) แห่งบริษัทไอบีเอ็ม ทั้งสี่คนได้ร่วมกันเสนอแนวคิดเกี่ยวกับว่า โมเลกุลเฉพาะแต่ละโมเลกุลสามารถแสดงพฤติกรรมเหมือนอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ พื้นฐานได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปได้ที่คอมพิวเตอร์จะถูกสร้างขึ้นมาในทิศทางของวิธีการจากเล็กไปใหญ่ (bottom - up) โดยการประกอบกันของโมเลกุลแต่ละตัวเข้าเป็นส่วนประกอบภายในวงจรได้ จาก สมมติฐานนี้จึงนำไปสู่ทิศทางการนำไปประยุกต์ใช้ทางด้านนาโนเทคโนโลยี จากผลงานการนำเสนอแนวคิดนี้ ทำให้มาร์ก รัทเนอร์ได้ชื่อว่าเป็นเสมือนบิดาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ระดับโมเลกุล (molecular-scale electronics) |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
 |
Sir Chandrasekhara Venkata Raman |
|
Richard P. Van Duyne |
|
|
|
|
|
|
|
Surface Enhance Raman Spectroscopy : SERS |
|
|
|
|
|
|
สเปกโตรสโคปี (spectroscopy) เป็นกลุ่มหนึ่งของเทคนิคต่างๆ ซึ่งใช้ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสงกับสสาร เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของสสาร และโครงสร้างของโมเลกุล นักวิทยาศาสตร์คือเซอร์จันดราเซกฮาร่า เวนกาต้า รามาน (Chandrasekhara Venkata Raman) แห่งมหาวิทยาลัยแคลคัตตา (Calcutta University) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1930 จากผลงานการค้นพบของเขาในปี ค.ศ. 1928 ที่เขาพบว่าหากนำตัวอย่างมาศึกษาโดยเทคนิคสเปกโตรสโคปี ข้อมูลที่ได้จากการกระเจิงแสงของโมเลกุลของตัวอย่างนั้น สามารถที่จะนำมาใช้อธิบายเกี่ยวกับส่วนประกอบเชิงเคมีและโครงสร้างโมเลกุลของตัวอย่างได้ แต่ทว่าในตอนนั้นเครื่องมือของรามานยังไม่สามารถที่จะนำมาใช้ศึกษาในระดับนาโนเมตรได้ แต่ภายหลังในปี ค.ศ. 1960 เมื่อมีการประดิษฐ์ลำแสงเลเซอร์ขึ้นมาได้ เทคนิคนี้ก็ได้รับโอกาสในการปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้มากยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1977 นักวิทยาศาสตร์ชื่อริชาร์ด แวน ดายน์ (Richard P. Van Duyne) แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบพื้นผิวที่ช่วยทำให้เกิดสเปกโตรสโคปีของรามานได้ดีขึ้น (surface enhance raman spectroscopy : SERS) ซึ่งทำให้สามารถใช้ในการศึกษาที่ละเอียดระดับนาโนเมตรได้ โดยแวน ดายน์ได้บรรยายไว้ว่าเมื่อโมเลกุลได้สัมผัสกับพื้นผิวหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ และมีช่องว่างระหว่างเนิน โดยมีขนาดประมาณ 50 – 100 นาโนเมตร จะทำให้ความเข้มของรามานถูกขยายมากขึ้นอีกเป็น 1,000,000 เท่า ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการใช้ SERS นี้ในเทคนิคสเปกโตรสโคปีระดับโมเลกุลกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
ปัจจุบัน SERS ถูกนำมาใช้ในการศึกษาปฏิกิริยาเชิงไฟฟ้าเคมีของโมเลกุล การเร่งปฏิกิริยาเคมี การสังเคราะห์สาร และนำมาใช้ในทางชีวเคมี |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
Gerd Binning & Heinrich Rohrer |
|
|
|
|
|
|
เกิร์ด บินนิง (Gerd Binning) และ เฮนริช โรห์เรอ (Heinrich Rohrer) นักวิจัยในห้องปฏิบัติการของบริษัทไอบีเอ็ม ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้ประดิษฐุ์ เครื่อง STM (Scanning Tunneling Microscope) ขึ้นจนสำเร็จ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถที่จะเห็นภาพของโลกระดับนาโนเมตรได้เป็นผลสำเร็จ แต่ไม่เพียงแต่สามารถมองเห็นอนุภาคระดับนาโน โมเลกุลขนาดเล็ก หรืออะตอมเดี่ยวได้เพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถที่จะใช้ในการควบคุมจัดการกับอนุภาคระดับนาโน อะตอม หรือโมเลกุลขนาดเล็กได้อีกด้วย อย่างเช่น การจัดเรียงอะตอมทีละอะตอมเข้าเป็นโมเลกุลหนึ่ง เป็นต้น และจากผลงานการประดิษฐ์เครื่องมือนี้ขึ้นมา ทำให้ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบล ในปี ค.ศ. 1986 |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Harold Kroto |
|
Richard Smalley |
|
Robert Curl |
|
buckyball |
|
|
|
|
|
|
ศาสตราจารย์ฮาโรลด์ โครโต้ (Harold Kroto) แห่งมหาวิทยาลัยซัสเซก (University of Sussex) ประเทศอังกฤษ ริชาร์ด สมอลลี่ (Richard Smalley) และ โรเบิร์ต เคิร์ล (Robert Curl) แห่งมหาวิทยาลัยไรซ์ (Rice University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของคาร์บอนแบบใหม่ นั่นคือ บัคมินสเตอร์ฟลูเลอรีน (buckminsterfullerene) หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันว่า บัคกี้บอล (buckyball) ซึ่งเป็นโครงสร้างระดับนาโนเมตรของโมเลกุลคาร์บอนที่สร้างขึ้นมาจากอะตอมของคาร์บอนจำนวน 60 อะตอมเชื่อมต่อกัน และมีรูปร่างที่สมมาตรคล้ายกับลูกฟุตบอล โดยเป็นโครงสร้างที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 นาโนเมตรเท่านั้น เนื่องจากการค้นพบนี้ทำให้พวกเขาได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี ค.ศ. 1996 |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
Atomic Force Microscope (AFM) |
|
|
|
|
|
|
เกิร์ด บินนิ่ง (Gerd Binning) และคณะได้ประดิษฐ์ เครื่อง AFM (Atomic Force Microscope) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ปลายแหลมที่มีขนาดเล็กระดับเป็นอะตอมเดี่ยว (หรือมีขนาดเพียงหนึ่งอะตอมเท่านั้น) ใช้ตรวจสอบพื้นผิวของวัตถุโดยตรงในระดับความละเอียดของช่วง 1-100 นาโนเมตรได้ และสามารถที่จะสร้างเป็นภาพในรูปแบบสามมิติ เพื่อแสดงลักษณะพื้นผิวของวัตถุที่ถูกวัดด้วยกำลังขยายที่สูงมาก (ประมาณได้ว่าเกือบ 1,000,000 เท่าของวัตถุที่ถูกวัด) |
|
|
|
|
|
 |
Eric Drexler |
|
|
|
|
|
|
ศาสตราจารย์อีริค เดรกส์เลอร์ (Eric Drexler) นักวิทยาศาสตร์ผู้นำเสนอแนวคิดเทคโนโลยีการสร้างระดับนาโนแบบจากเล็กไปใหญ่ (bottom-up) ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า “จักรกลที่ใช้ในการสร้างสรรค์ (engines of creation)” ซึ่งเป็นหนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่จะเป็นไปได้ในการสร้างระดับนาโน และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากความก้าวหน้าทางด้านนาโนเทคโนโลยีนี้ ซึ่งจากแนวคิดของศาสตราจารย์เดรกส์เลอร์นี้ ทำให้เกิดกระแสกระตุ้นความสนใจของเหล่านักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเกี่ยวกับว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่ โดยมีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในแนวคิดที่เขาได้นำเสนอไว้ |
|
|
|
|