มนุษย์รับความรู้สึกที่ผิวหนังได้อย่างไร


ผิวหนังของคุณจะรับสัมผัสได้เท่ากันทุกแห่งหรือไม




        ผิวหนังนอกจากจะเป็นอวัยวะห่อหุ้มร่างกายแล้ว ยังเป็นอวัยวะรับความรู้สึกสัมผัสที่กว้าง
กว่าอวัยวะรับความรู้สึกอื่นๆ อีกด้วย เนื่องจากผิวหนังจะมีหน่วยรับความรู้สึกสัมผัสจำนวนนับ
ล้านเซลล์ ที่ต้องสัมผัสกับสิ่งเร้าภายนอกมากมายตลอดเวลาเพื่อส่งข้อมูลไปยังสมองอย่าง
ต่อเนื่องทำให้เรารับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวตลอดเวลา

 
        ผิวหนังของคนมีพื้นที่มากมายแต่บางส่วนของผิวหนังอาจมีปลายประสาท (nerve
ending) ซึ่งมีหน่วยรับความรู้สึกอยู่มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกัน โดยหน่วยรับความรู้สึก
แต่ละชนิด จะไวต่อการกระตุ้น เฉพาะอย่างเช่น หน่วยรับความรู้สึกเกี่ยวกับความดันจะมี
ลักษณะคล้ายหัวหอมผ่าซีก และมีปลายประสาทเดนไดรต์อยู่ตรงกลาง มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
หุ้มปลายประสาทอยู่รอบๆ หน่วยรับความรู้สึกนี้ฝังลึกอยู่ในผิวหนังบริเวณของหนังแท้ (dermis) ส่วนหน่วยรับความรู้สึกเจ็บปวดจะมีปลายประสาทเดนไดรต์ที่แทรกอยู่ในชั้นหนังกำพร้า
(epidermis) นอกจากนี้ใต้ชั้นหนังแท้ (dermis) ยังมีชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (subcutaneous
tissue) อยู่อย่างหลวมๆ

  
      หน่วยรับความรู้สึกบางหน่วยอาจอยู่อย่างอิสระบางหน่วยพันอยู่รอบเส้นขน ดังนั้นเมื่อ
ลูบเส้นขนเบาๆ ก็จะรับรู้สัมผัสได้เช่นกัน (ดังภาพ 3.28) (ตารางที่ 1)

 

                  

 

               ภาพที่ 3.28 ปลายประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกต่างๆ บริเวณผิวหนัง

 

  
       การที่ผิวหนังบางบริเวณมีหน่วยรับความรู้สึกสัมผัสมากกว่าส่วนอื่นทำให้ ผิวหนังส่วนนั้น
ไวต่อความรู้สึกมากว่าผิวหนังส่วนอื่น จะเห็นได้จากภาพเปรียบเทียบ (3.29) โดยอวัยวะที่มี
ขนาดต่างกันในภาพ แสดงถึงความไวในการรับความรู้สึกสัมผัสของอวัยวะนั้นๆ จากภาพ
จะเห็นได้ว่ามือและริมฝีปากเป็นส่วนที่รับความรู้สึกสัมผัสได้มาก

 

                                        

 

                  ภาพที่ 3.29 ภาพเปรียบเทียบความไวในการรับสัมผัสของอวัยวะต่างๆ

 

ตารางที่ 1 ภาพแสดงลักษณะเซลล์รับความรู้สึกของตัวรับ (receptors) ต่างๆ ซึ่งเป็นปลาย
ของเส้นประสาท ชนิดต่างๆ

 

รูปร่างลักษณะปลายประสาท
ชื่อและหน้าที่
Nociceptors – รับความรู้สึกร้อนเย็น คัน
ความหนา ความยืด
Merkel discs – แยกแยะความรู้สึกสัมผัส (touch pressure)
root hair plexuses – แสดงอาการขนลุก
จาการรับสัมผัสที่ขน
Meissner’s corpuscle - รับความรู้สึกสัมผัสเบาๆ
Krause’s corpuscle – รับรู้สัมผัสที่เกี่ยวกับความเย็น

Pacinian corpuscle – รับรู้แรงกดหนักๆ การสั่นเร็วๆ (deep pressure, touch)
Ruffini’s corpuscle – รับรู้สัมผัสที่เป็นความร้อน
free nerve ending - รับความรู้สึกเจ็บปวด
propriocepters muscle spinders และ golgi tendon organs - รับความรู้สึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของข้อต่อ

 

 

     เชิญลองมาทดสอบความไวในการรับสัมผัสของผิวหนังกันดีกว่า (คลิก)