|
||
ตั้งแต่เกิดจนถึงจนถึงวัยรุ่นตอนปลาย
มนุษย์จะเรียนรู้ทักษะในการดำรงชีวิต ได้แก่ การเกาะยืน หัดเดิน การขี่จักรยาน ฯลฯ การเรียนรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับความทรงจำ ซึ่ง เป็นความสามารถของสมองในการจัดเก็บและเรียกฟื้นข้อมูลจำนวนมากได้ การทำงานของ สมอง โดยใยประสาทจะเกิดขึ้นมากน้อยหรือไม่เกิดเลยขึ้นอยู่กับประสบการณ์์ของชีวิต การกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกัน รวมถึงอาหารที่สมบูรณ์เหมาะสม ในวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ซึ่งเป็นระยะที่จะสร้างใยประสาทได้รวดเร็วและง่ายกว่าผู้ใหญ่ และยิ่งถูกกระตุ้นใช้บ่อยๆ โดยประสาทสัมผัสจากอวัยวะรับสัมผัสในร่างกาย ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง ใยประสาทจะแข็งแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้นข้อมูลที่ได้รับก็จะเดินทางได้เร็ว ทำให้เรียนรู้ง่ายขึ้น เด็กก็จะฉลาดมากขึ้น |
||
|
||
|
||
ภาพที่ 4.1 ตัวอย่างของการเรียนรู้: การเกาะยืน การขี่จักรยาน
|
||
สมองจะเกิดการเรียนรู้ได้ต่อเมื่อเซลล์ประสาท
2 ตัว ส่งผ่านข้อมูลติดต่อซึ่งกันและกัน
|
||
|
||
ภาพที่ 4.2 ภาพเปรียบเทียบการซิแนปส์และการส่งข้อมูลไปตามใยประสาท
กับการส่งกระไฟฟ้า |
||
ในช่วง 2 ปีแรกของชีวิต
สมองจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมากที่สุดและจะพัฒนาการ เคลื่อนไหว การมองเห็น การได้ยินเสียงก่อน โดยจะมีการสร้างสายใยประสาทจนถึงอายุ 10 ปี และหลังจากนั้นจะปรับเปลี่ยนเล็กน้อยจนถึงวัยชราใยประสาทยังคงเกิดขึ้นแต่น้อยลงทั้งนี้ ี้ขึ้นอยู่กับการกระตุ้น การใช้งานบ่อยๆ จากเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เด็กๆ จะมีการเรียนรู้ เร็วกว่าผู้ใหญ่ ตัวอย่างเช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ภาษาท้องถิ่น ต้องหมั่นฟัง อ่าน เขียน ยิ่งฝึกฝนทบทวนมากเท่าไรจะช่วยให้เรียนรู้ได้เร็วและ จดจำคำศัพท์ต่างๆ ได้มากขึ้น |
||
|
||
ภาพที่ 4.3 ตัวอย่างการเรียนรู้ภาษาอื่นต้องฝึกฝนทั้งการฟัง อ่านและเขียน
|
||
โดยปกติแล้วมนุษย์ใช้เซลล์ประสาทเพียงร้อยละ
5 - 10 ของเซลล์สมองทั้งหมดใน การเรียนรู้แบบรู้ตัว (conscious) อีกร้อยละ 90 จะเรียนแบบไม่รู้ตัว (unconscious) จากหลายการศึกษาพบว่า สมองจะเจริญเติบโตและมีการเรียนรู้ได้ดีเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ |
||
1. สิ่งแวดล้อมทางสังคม ประสบการณ์การกระตุ้นต่างๆ
การได้รับอาหารที่สมบูรณ์โดย เฉพาะในระยะวัยเด็ก (อายุก่อน 10 ปี) 2. การมีกิจกรรมทางสังคม เด็กจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นเมื่อมีการทำงานเป็นกลุ่มและมีความสนุก 3. การสัมผัสอันอ่อนโยน อบอุ่นในการเลี้ยงดูหรือดูแล 4. การมีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อม 5. การเล่นและการค้นหา (exploration) โดยเฉพาะในวัยเด็ก เพราะการเล่นช่วยให้สมอง ถูกกระตุ้นด้วยการใช้ความคิดสิ่งต่างๆที่ท้าทาย ช่วยให้มีการพัฒนาสมอง 6. การให้มีความเครียดน้อยที่สุดไม่ว่าในห้องเรียนหรือที่บ้านกล่าวโดยสรุป การมีปฏิกิริยา ต่อสังคม การเลี้ยงดูอบรมที่ดี การสัมผัสที่อ่อนโยน การใช้สมองทำงานต่างๆ ที่ท้าทาย และ การเล่นการทำกิจกรรมกลุ่ม จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง และการเรียนรู้อย่างมาก |
||
รู้ได้อย่างไรว่าปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของสมอง?
|
||